สาระควรรู้ทั่วไป

เป็นสัญญาซึ่งตกลงกันระหว่าง "ผู้ให้เช่า" และ "ผู้เช่า" ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง ในชั่วระยะเวลาที่กำหนด ผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อตอบแทนประโยชน์นั้นๆ ซึ่งสัญญานี้มีลักษณะว่าคู่สัญญาต่างเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน หมายถึง ผู้เช่ามีสิทธิที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ใดๆ จากทรัพย์สินที่เช่าแต่ผู้เช่าไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าแต่อย่างใด และผู้เช่าต้องให้ค่าเช่าเพื่อตอบแทนการใช้ทรัพย์สินนั้นๆ

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

สัญญาเช่า ต้องอ่านก่อนตัดสินใจเช่าไม่เช่นนั้นอาจเสียเปรียบ

เป็นสัญญาซึ่งตกลงกันระหว่าง "ผู้ให้เช่า" และ "ผู้เช่า" ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง ในชั่วระยะเวลาที่กำหนด ผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อตอบแทนประโยชน์นั้นๆ ซึ่งสัญญานี้มีลักษณะว่าคู่สัญญาต่างเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน หมายถึง ผู้เช่ามีสิทธิที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ใดๆ จากทรัพย์สินที่เช่าแต่ผู้เช่าไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าแต่อย่างใด และผู้เช่าต้องให้ค่าเช่าเพื่อตอบแทนการใช้ทรัพย์สินนั้นๆ

         โดยปกติจะเป็นเงินแต่ไม่จำเป็นต้องเป็นเงินตราเสมอไปเพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้แต่อย่างใดอาจเป็นอาหาร ยา ฯลฯ เช่น กรณีเช่าบ้าน ผู้เช่ามีสิทธิเพียงครอบครองอยู่อาศัยในบ้านเช่านั้น แม้จะอยู่มานานเท่าใดผู้เช่าก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของ แต่ผู้เช่าให้เงินเป็นจำนวน 5,000 บาท/เดือนตอบแทนของการเช่าบ้าน

 

 หลักเกณฑ์ในการทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ 

    การที่ผู้เช่าและผู้ให้เช่ามีเจตนาตกลงกันก็ถือว่าเกิดสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว แต่สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวกับการเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ มิฉะนั้นจะใช้ฟ้องร้องบังคับคดีในศาลไม่ได้ ตัวอย่างของหลักฐานเป็นหนังสือในกรณีสัญญาเช่า เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าเช่า เป็นต้น

    สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นี้แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ การเช่าแบบระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี ต้องทำป็นหนังสือสัญญาเช่าโดยมีการลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบ ส่วนอีกประเภทคือระยะเวลาเช่าที่เกินกว่า 3 ปีไม่ว่าจะเช่าตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่านั้น กฎหมายได้กำหนดลักษณะของ ?หลักฐานเป็นหนังสือ? ไว้ค่อนข้างยุ่งยากกว่าแบบประเภทไม่เกิน 3 ปี เพราะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะใช้ฟ้องร้องบังคับคดีได้ 

    มีสัญญาพิเศษฉบับหนึ่งภาษาทางกฎหมายเขาเรียกว่า ?สัญญาต่างตอบแทนพิเศษ? ซึ่งเขียนให้เข้าใจง่ายๆก็คือ สัญญาที่มีข้อตกลงพิเศษเพิ่มเติมระหว่างผู้เช่ากับผู้ให้เช่านอกเหนือไปจากค่าเช่าที่ต้องจ่าย เช่น สัญญาที่ผู้เช่าต้องซ่อมแซมต่อเติมเมื่อบ้านชำรุด ผู้เช่าต้องปลูกและดูแลต้นไม้ในที่ดินนั้นๆ 

หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ให้เช่า 

    ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้เช่าตามสัญญา โดยทรัพย์สินนั้นๆต้องอยู่ในสภาพที่เหมาะแก่การใช้ประโยชน์ตามสัญญาเช่าด้วยตลอดระยะเวลาการเช่า เช่น เจ้าของบ้านเช่าต้องดูแล บำรุง รักษา และซ่อมแซมทรัพย์สินที่ให้เช่า ยกเว้นการซ่อมที่มีกฎหมายหรือประเพณีกำหนดให้ผู้เช่าเป็นผู้ซ่อมเองได้แก่ การซ่อมแซมเล็กๆ น้อยๆ อย่างมุ้งลวดประตู หน้าต่างฉีกขาด กระเบื้องปูพื้นแตก 2-3 แผ่น

 

หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้เช่า 

    ผู้เช่าต้องชำระค่าเช่าให้แก่เจ้าของที่อยู่นั้นๆ เพราะถือว่าเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนจากประโยชน์ที่ได้รับจากการเช่า ซึ่งจะมีการตกลงเวลาการชำระหนี้ไว้ในแต่ละคราว โดยปกติมักจ่ายเป็นรายเดือน นอกจากนี้ผู้เช่าต้องรักษาสภาพของที่อยู่ให้เรียบร้อยตามสภาพที่ได้รับมอบมาและต้องส่งคืนในสภาพเดิม หรือซ่อมแซมให้เรียบร้อยหากชำรุด

 

การระงับสัญญาเช่า 

    การระงับสัญญานี้อาจมีสาเหตุมาจากผลทางกฎหมาย เช่นเมื่อหมดสัญญาเช่า ผู้เช่าถึงแก่ชีวิต หรือทรัพย์สินนั้นสูญหายไปเช่นไฟไหม้ กฎหมายได้อนุญาตผู้ให้เช่าหรือผู้เช่าสามารถระงับการเช่าได้โดยมิต้องบอกกล่าว

    อีกกรณีของการระงับสัญญาเช่าอาจเนื่องมาจากการบอกเลิกสัญญาระหว่างผู้เช่ากับผู้ให้เช่าตามที่ได้ตกลงไว้ในสัญญาเช่าระบุให้สิทธิบอกเลิก หรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งปฏิบัติผิดหน้าที่ตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าในข้อสำคัญ เช่นไม่ชำระค่าเช่า หรือถ้าสัญญาเช่าเป็นแบบไม่กำหนดระยะเวลาการเช่าแต่ละฝ่ายสามารถบอกเลิกสัญญาได้ แต่ต้องบอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ตัวก่อนสักระยะหนึ่งแต่ไม่จำเป็นต้องบอกก่อนล่วงหน้าเกินกว่าสองเดือน 

เกร็ดความรู้ก่อนเช่าทรัพย์สิน

Q: ผู้เช่าต่อเติมหรือดัดแปลงทรัพย์สินที่เช่า โดยผู้ให้เช่าไม่อนุญาตแล้วผลจะเป็นอย่างไร
A: ในกรณีผู้เช่าต่อเติมหรือดัดแปลงทรัพย์สินโดยพลการ ไม่ได้รับความยินยอมก่อนจากผู้ให้เช่านั้น กฏหมายได้ปกป้องผู้ให้เช่ามีสิทธิเรียกร้องกับผู้เช่าต้องทำให้ทรัพย์สินกลับสู่สภาพเดิม และต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ถ้าหากผู้ให้เช่ารับรู้เรื่องการต่อเติมดัดแปลงแต่ไม่ได้ทักท้วงตั้งแต่แรก แล้วต่อไปเกิดผิดใจกันระหว่างสองฝ่ายจนถึงขึ้นฟ้องร้องขับไล่โดยอ้างการต่อเติม ผลคือผู้ให้ไม่สามารถขับไล่ได้และเลิกสัญญาได้ ถือว่าผู้ให้เช่าอนุญาตให้ดัดแปลงโดยปริยาย

Q: ผู้เช่าจะเรียกร้องค่าใช้จ่ายที่ไปซ่อมแซมต่อเติมทรัพย์สินจากผู้ให้เช่าได้หรือไม่ 
A: ดูที่เจตนา หากการต่อเติมซ่อมแซมเพื่อประโยชน์ในกิจการของผู้เช่าเอง เช่น ต่อเติมเพื่อความสะดวกสบาย ทำให้สวยงามขึ้น แต่ไม่ใช่ทำเพื่อรักษาทรัพย์สินที่เช่าก็ไม่สามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายนี้ได้ แต่ถ้าผู้เช่าซ่อมแซมในส่วนที่จำเป็นและสมควรเพื่อรักษาทรัพย์สิน ไม่ใช่เป็นการบำรุงรักษาตามปกติเล็กๆน้อยๆ ถึงแม้ผู้ให้เช่าจะอ้างว่าไม่ได้ตกลงให้ทำ แต่ก็ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่จำเป็นส่วนนี้ 

Q: ไม่ใช่เจ้าของแล้วเอาทรัพย์สินไปให้เช่า ผู้เช่าจะปฏิเสธไม่จ่ายค่าเช่าได้หรือไม่ 
A: ไม่ได้ เพราะผู้เช่าได้รับประโยชน์จากการเช่าแล้วจะอ้างว่าผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของแล้วไม่ชำระค่าเช่าไม่ได้ เป็นหน้าที่ที่ผู้เช่าต้องจ่าย 

สิทธิของผู้ให้เช่าที่ควรรู้

Q: เช่าที่ดินเปล่าแล้ว ปลูกสิ่งปลูกสร้างใหม่ เมื่อสัญญาเช่าระงับสิ่งปลูกสร้างนั้นจะทำอย่างไร
A: เมื่อเลิก ระงับ หรือหมดระยะเวลาสัญญาผู้เช่าต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออก คือต้องคืนทรัพย์สินในสภาพเดิม ผู้เช่าจะบังคับผู้ให้เช่าซื้อทรัพย์สินหรือเรียกร้องค่ารื้อถอนเพิ่มเติมไม่ได้

Q: ผู้เช่านำทรัพย์สินไปปล่อยให้เช่าช่วงอีกทอดหนึ่ง โดยผู้ให้เช่าไม่ยินยอม จะยกเลิกสัญญาเช่าได้หรือไม่ 
A: การเช่าช่วงหมายถึงการนำทรัพย์สินที่เช่ามาไปให้ผู้อื่นเช่าต่อ กรณีนี้ถ้าผู้ให้เช่า (เจ้าของกรรมสิทธิ์) ไม่อนุญาตให้เช่าช่วงต่ออีกที ผู้ให้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญาเช่าได้ทันทีและไม่จำเป็นต้องกำหนดให้เวลาย้ายแก่ผู้เช่า 

Q: ถ้าผู้เช่าใช้ทรัพย์สินผิดวัตถุประสงค์การเช่าที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าแล้ว ผู้ให้เช่าจะทำอย่างไร 
A: ผู้ให้เช่าสามารถตักเตือนบอกกล่าวให้ผู้เช่าปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้แต่แรกที่ระบบุในสัญญา แต่ถ้าเตือนแล้วยังไม่ปฏิบัติตามสัญญา ผู้ให้เช่าก็สามารถบอกเลิกสัญญาได้ เช่น ในตอนแรกตกลงเช่าบ้านสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ต่อไปภายหลังดัดแปลงไปเปิดร้านขายอาหาร ผู้ให้เช่าเกิดไม่พอใจไม่ต้องการให้ขายอาหารเพราะจะทำให้บ้านสกปรกเลอะเทอะจึงได้ทำการเตือน แต่ผู้เช่าไม่สนใจละเลยการเตือนนั้น ยังคงเปิดบ้านขายอาหารต่อไป ผู้ให้เช่าสามารถยกเลิกสัญญาเช่าดังกล่าวได้ และผู้เช่าไม่มีสิทธิเรียกร้องชดเชยค่าเสียหายเนื่องจากการขาดรายได้ด้วย 

Q: ผู้เช่าไม่ดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าไป ทำให้ทรัพย์สินที่เช่าสูญหาย หรือเสียหายผลจะเป็นอย่างไร
A: หากผู้ให้เช่าสามารถสืบทราบได้ว่าผู้เช่าไม่ได้ใช้ทรัพย์สินอย่างระมัดระวังอย่างวิญญูชนพึงสงวนรักษาทรัพย์สินของตนเอง ผู้เช่าต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น หากไม่ปฏิบัติตามผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกร้องค่าเสียหายได้ 

Q: ตกลงจ่ายค่าเช่าเป็นรายเดือนแล้ว แต่ผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเลยได้หรือไม่ 
A: ไม่ได้ ผู้ให้เช่าต้องแจ้งให้ชำระค่าเช่าก่อนอย่างน้อย 15 วัน อยู่ๆจะให้ทนายส่งหนังสือยกเลิกสัญญาเช่าเลยจะไม่มีผลบังคับ 

แต่ถ้าในสัญญาได้กำหนดตกลงกันว่า "หากผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า ในผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาได้" ผู้ให้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญาได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกล่วงหน้า 

Q: ถ้าสัญญาเก่าครบอายุแล้ว คู่สัญญาจำเป็นต้องทำสัญญากันใหม่หรือไม่ 
A: ทั้งผู้เช่าและผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องทำใหม่ แต่จะถือเอาข้อตกลงตามสัญญาเช่าเดิมเป็นหลักแต่ไม่มีข้อกำหนดเรื่องเวลา อาทิเช่น เดิมตกลงเช่าบ้านราคา 10,000 บาทเป็นระยะเวลา 1 ปี หลังจากครบกำหนดแล้วหากไม่ทำสัญญาฉบับใหม่ ผู้เช่าสามารถเช่าอยู่ต่อได้เรื่อยๆที่ราคาเดิม หากเจ้าของบ้านต้องการขึ้นค่าเช่าต้องทำหนังสือเป็นหลักฐานลงลายมือชื่อรับทราบจากผู้เช่าเพื่อตกลงราคาใหม่ 

Q: ถ้าสัญญาหมดอายุแล้ว (ไม่มีกำหนดเวลาเช่า) จะบอกเลิกสัญญาเช่าได้เมื่อใด 
A: ถ้าในสัญญาไม่กำหนดเวลาเช่าที่แน่นอน ทั้งสองฝ่ายสามารถบอกเลิกสัญญาเช่ากันได้ แต่ต้องแจ้งอีกฝ่ายหนึ่งให้รู้ตัวก่อนระยะหนึ่งที่เหมาะสม (ไม่ได้กำหนดว่าต้องบอกล่วงหน้า 2 เดือน) 

  • เลือกเครื่องฟอกอากาศ ลดฝุ่น PM2.5 แบบไหน วางไว้จุดไหนของบ้าน ได้ประสิทธิภาพกรองฝุ่นดีที่สุด
  • เปิดค่าธรรมเนียม การโอนที่ดิน 2568 ซื้อ-ขาย มอบที่ดินมรดกญาติ เปลี่ยนกรรมสิทธิ์ มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
  • 108 ปี หัวลำโพง 10 จุดเช็กอินประวัติศาสตร์ เรียนรู้ประวัติศาสตร์รถไฟไทยสุดคลาสสิค
  • หลังคาเมทัลชีท แบบไหนช่วยลดเสียงสะท้อน มีน้ำหนักเบาทนต่อสภาพอากาศ มีวิธีเลือกอย่างไร
  • รวมบริษัทรับสร้างบ้าน 2567 มีแบบบ้านให้เลือกหลากหลายสไตล์ ประหยัดงบ ตามเทรนด์คนรุ่นใหม่
  • ทาสแมวรู้ไว้ "สีขนแมว" บอกนิสัยได้ มีการเล่นที่แตกต่างกันอย่างไร
  • 10 เครื่องซักผ้าฝาหน้า เทคโนโลยีอัจฉริยะ ทำงานเงียบช่วยประหยัดน้ำ ยอดนิยมของปี 2024 ยี่ห้อไหนบ้าง
  • จำนอง กับ ขายฝาก เงินที่ได้ไม่เท่ากัน ควรรู้ก่อนทำสัญญา มีเสียภาษีอะไรบ้าง
  • เลือกแอร์แบบไหน ช่วยประหยัดไฟในช่วงหน้าร้อน พร้อมแนะนำทริค กับ เคล็ดลับประหยัดได้จริง
  • เลือกแอร์แบบไหน ช่วยประหยัดไฟในช่วงหน้าร้อน พร้อมแนะนำทริค กับ เคล็ดลับประหยัดได้จริง
  • สีตราครุฑ โฉนดที่ดิน มีความหมายที่แตกต่างกัน สามารถชื้อ-ขายได้ตามกฎหมายอย่างไร
  • เมื่อเราเลิกกันบ้านนี้ใครได้ เมื่อต้องอย่าร้างเราควรจัดการทรัพย์สิน อย่างไร?
  • รวมบริษัทรับสร้างบ้าน 2567 มีแบบบ้านให้เลือกหลากหลายสไตล์ ประหยัดงบ ตามเทรนด์คนรุ่นใหม่
  • จำนอง กับ ขายฝาก เงินที่ได้ไม่เท่ากัน ควรรู้ก่อนทำสัญญา มีเสียภาษีอะไรบ้าง
  • ทาสแมวรู้ไว้ "สีขนแมว" บอกนิสัยได้ มีการเล่นที่แตกต่างกันอย่างไร
  • 10 เครื่องซักผ้าฝาหน้า เทคโนโลยีอัจฉริยะ ทำงานเงียบช่วยประหยัดน้ำ ยอดนิยมของปี 2024 ยี่ห้อไหนบ้าง
  • วิธีแก้เน็ตบ้านช้า หลุดบ่อย Wi-Fi ไม่เสถียร ต่อสายแลนเน็ตไม่เต็มสปีด
  • หลังคาเมทัลชีท แบบไหนช่วยลดเสียงสะท้อน มีน้ำหนักเบาทนต่อสภาพอากาศ มีวิธีเลือกอย่างไร
  • สู้ค่าไฟฟ้าด้วยโซล่าเซลล์ ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
  • สัญญาเช่า ต้องอ่านก่อนตัดสินใจเช่าไม่เช่นนั้นอาจเสียเปรียบ

    เป็นสัญญาซึ่งตกลงกันระหว่าง "ผู้ให้เช่า" และ "ผู้เช่า" ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง ในชั่วระยะเวลาที่กำหนด ผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อตอบแทนประโยชน์นั้นๆ ซึ่งสัญญานี้มีลักษณะว่าคู่สัญญาต่างเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน หมายถึง ผู้เช่ามีสิทธิที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ใดๆ จากทรัพย์สินที่เช่าแต่ผู้เช่าไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าแต่อย่างใด และผู้เช่าต้องให้ค่าเช่าเพื่อตอบแทนการใช้ทรัพย์สินนั้นๆ

    @thaihometown Scroll