สาระควรรู้ทั่วไป

การเดินทางด้วยรถขนส่งสาธารณะ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่รวดเร็วและสบายที่สุดของคนเมืองก็คงหนีไม่พ้นรถไฟฟ้า เพราะในเรื่องของการควบคุมเวลา ได้ข่อนข้างแม่นยำ และช่วยประหยัดการใช้จ่ายในการใช้รถยนค์ส่วนตัว และปัจจุบันนี้เส้นทางรถไฟฟ้าได้ถูกขยายออกไปในหลายๆ เส้นทาง ไม่เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ยังขยายออกไปในเขตปริมณฑลอีกด้วย

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

อัพเดทข้อมูลรถไฟฟ้า 13 สาย ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปี 2563

อัพเดทข้อมูลรถไฟฟ้า 13 สาย ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปี 2563

     การเดินทางด้วยรถขนส่งสาธารณะ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่รวดเร็วและสบายที่สุดของคนเมืองก็คงหนีไม่พ้นรถไฟฟ้า เพราะในเรื่องของการควบคุมเวลา ได้ข่อนข้างแม่นยำ และช่วยประหยัดการใช้จ่ายในการใช้รถยนค์ส่วนตัว และปัจจุบันนี้เส้นทางรถไฟฟ้าได้ถูกขยายออกไปในหลายๆ เส้นทาง ไม่เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ยังขยายออกไปในเขตปริมณฑลอีกด้วย

 

คลิกดูแผนที่รถไฟฟ้าแผนที่รถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

     ซึ่งวันนี้ จะมาอัพเดตข้อมูลแผนที่รถไฟฟ้า ในเตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้งหมด 13 เส้นทางด้วยกัน ว่าจะมีที่ไหนบ้าง และเปิดใช้บริการเมื่อไหร่ มาดูกันเลยครับ

 

อัพเดทข้อมูลรถไฟฟ้า 13 สาย ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปี 2563

1. รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (ธรรมศาสตร์-มหาชัย)

     รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม มหาชัย-ธรรมศาสตร์ รวมระยะทางทั้งหมด 114.3 กิโลเมตร มีทั้งหมด 38 สถานี เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองที่เชื่อมต่อกรุงเทพฯ โซนเหนือและโซนใต้ โดยเริ่มก่อสร้างช่วงเส้นทางบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อตลิ่งชัน ระยะทางรวมประมาณ 41 กิโลเมตร ซึ่งเตรียมจะเปิดให้บริการได้ในต้นปี 2564

รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต

  • ความคืบหน้า : เกือบ 100% มีกำหนดการเปิดใช้งานปี 2564
  • ระยะทาง : ทั้งหมด 10 สถานี
  • สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 5 สาย 4 สถานี ดังนี้
  • เชื่อมต่อกับ สายสีแดงอ่อน/ Airport Rail link /สายสีน้ำเงิน ที่สถานีกลางบางซื่อ
  • เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำตาล ที่สถานีบางเขน
  • เชื่อมต่อกับ สายสีชมพู ที่สถานีหลักสี่
  • เชื่อมต่อกับ Airport Rail link ที่สถานีดอนเมือง

รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์

  • ความคืบหน้า : ระหว่างก่อสร้าง มีกำหนดการเปิดใช้งานปี 2565
  • ระยะทาง : ทั้งหมด 4 สถานี ได้แก่ สถานีคลองหนึ่ง, สถานีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, สถานีเชียงราก และสิ้นสุดที่สถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต

รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง

  • ความคืบหน้า : อยู่ในช่วงพิจารณาโครงการ
  • ระยะทาง : ทั้งหมด 22 สถานี
  • สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 6 สาย 7 สถานี ดังนี้
  • เชื่อมต่อกับ สายสีแดงอ่อน ที่สถานีประดิพัทธ์
  • เชื่อมต่อกับ สายสีส้ม ที่สถานียมราช
  • เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวอ่อน ที่สถานียศเส
  • เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีหัวลำโพง
  • เชื่อมต่อกับ สายสีทอง ที่สถานีคลองสาน
  • เชื่อมต่อกับ สายสีม่วง ที่สถานีวงเวียนใหญ่
  • เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวอ่อน ที่สถานีตากสิน

 

คลิกดูแผนที่รถไฟฟ้าสีแดงอ่อน

2. รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน (ศาลายา-ตลิ่งชัน-บางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก)

     รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนหรือรถไฟชานเมืองสายตะวันออก-ตะวันตก เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าชานเมืองสีแดง มีระยะทางประมาณ 127.5 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ตอนนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างช่วงชุมทางตลิ่งชัน-สถานีกลางบางซื่อ และอยู่ระหว่างทดลองเดินรถด้วยรถไฟดีเซลราง (ระยะที่ 1 ตลิ่งชัน-บางซ่อน) เมื่อปี 2562 ครม.มีมติให้สร้างเพิ่มช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และตลิ่งชัน-ศิริราช คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2565

รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน

  • ความคืบหน้า : 100% มีกำหนดการเปิดใช้งานปี 2563
  • ระยะทาง : ทั้งหมด 5 สถานี
  • สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 6 สาย 7 สถานี ดังนี้
  • เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน / สายสีแดงเข้ม ที่สถานีกลางบางซื่อ
  • เชื่อมต่อกับ สายสีม่วง ที่สถานีบางซ่อน
  • เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวเข้ม ที่สถานีตลิ่งชัน

รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช

  • ความคืบหน้า : ระหว่างก่อสร้าง มีกำหนดการเปิดใช้งานปี 2565
  • ระยะทาง : ทั้งหมด 3 สถานี
  • สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 6 สาย 7 สถานี ดังนี้
  • เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวเข้ม ที่สถานีตลิ่งชัน
  • เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน / สายสีส้ม ที่สถานีบางขุนนนท์
  • เชื่อมต่อกับ สายสีส้ม ที่สถานีศิริราช

รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา

  • ความคืบหน้า : ผ่านการอนุมัติ อยู่ในช่วงประกวดราคาโครงการ
  • ระยะทาง : ทั้งหมด 4 สถานี
  • ไม่มีสถานี Interchange

รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงบางบำหรุ – หัวหมาก

  • ความคืบหน้า : ผ่านการอนุมัติ อยู่ในช่วงประกวดราคาโครงการ
  • ระยะทาง : ทั้งหมด 5 สถานี
  • สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 5 สาย 5 สถานี ดังนี้
  • เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวเข้ม / Airport Rail Link ที่สถานีพญาไท
  • เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน / Airport Rail Link ที่สถานีมักกะสัน
  • เชื่อมต่อกับ สายสีเทา ที่สถานีศูนย์วิจัย
  • เชื่อมต่อกับ Airport Rail Link ที่สถานีรามคำแหง
  • เชื่อมต่อกับ สายสีเหลือง / Airport Rail Link ที่สถานีหัวหมาก

 

คลิกดูแผนที่รถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงค์

3. Airport Link Line แอร์พอร์ต เรล ลิงค์ (บางซื่อ-พญาไท-สุวรรณภูมิ)

     รถไฟฟ้าสายอากาศยานมีสถานีรายทางทั้งสิ้น 10 สถานี คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง - บางซื่อ - พญาไท - ราชปรารภ - มักกะสัน - รามคำแหง - หัวหมาก - บ้านทับช้าง - ลาดกระบัง - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ใช้เวลาเดินทาง 30 นาทีจากดอนเมืองถึงสุวรรณภูมิ ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอการสรุปรูปแบบโครงการ

Airport Rail Link สถานีพญาไท – สนามบินสุวรรณภูมิ

  • ความคืบหน้า : 100% เปิดให้ใช้บริการเรียบร้อย
  • ระยะทาง : ยกระดับ 8 สถานี ใต้ดิน 1 สถานี (สถานีสุวรรณภูมิ)
  • สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 5 สาย 4 สถานี ดังนี้
  • เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวเข้ม /สายสีแดงอ่อน ที่สถานีพญาไท
  • เชื่อมต่อกับ สายสีส้ม ที่สถานีราชปรารถ
  • เชื่อมต่อกับ สายน้ำเงิน /สายสีแดงอ่อน ที่สถานีมักกะสัน
  • เชื่อมต่อกับ สายเหลือง /สายสีแดงอ่อน ที่สถานีหัวหมาก

Airport Rail Link สถานีพญาไท – สนามบินดอนเมือง

  • ความคืบหน้า : ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าเปิดให้ใช้งานปี 2564
  • ระยะทาง : ทั้งหมด 4 สถานี ได้แก่ สถานีราชวิถี, สถานีกลางบางซื่อ,สถานีบางเขน และสิ้นสุดที่สถานีดอนเมือง

คลิกดูแผนที่ รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม

4. รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (BTS สายสุขุมวิท) 

     ปัจจุบันเปิดให้บริการช่วงเคหะสมุทรปราการ-ม.เกษตรศาสตร์ เป็นรถไฟฟ้าเส้นทางแรกและเส้นทางหลักของกรุงเทพมหานคร พาดผ่านใจกลางกรุงเทพฯ และพื้นที่สำคัญย่านใจกลางเมือง ปัจจุบันและอยู่ระหว่างการก่อสร้างส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต (สถานีม.เกษตรฯ - คูคต ) ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2563

รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มส่วนต่อขยายเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

  • ความคืบหน้า : สร้างเสร็จเกือบ 100% เริ่มเปิดให้บริการในบางสถานีแล้ว
  • ระยะทาง : ยกระดับทั้งหมด 16 สถานี
  • สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 3 สาย 3 สถานี ดังนี้
  • เชื่อมต่อกับ สายน้ำเงิน ที่สถานีห้าแยกลาดพร้าว
  • เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำตาล ที่สถานีม.เกษตรศาสตร์
  • เชื่อมต่อกับ สายสีชมพู ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มส่วนต่อขยายเหนือ ช่วงคูคต-ลำลูกกา

  • ความคืบหน้า : อยู่ในช่วงพิจารณาโครงการ
  • ระยะทาง : ทั้งหมด 4 สถานี คือ สถานีคลอง 3 , สถานีคลอง 4 , สถานีคลอง 5 และสถานีวงแหวนตะวันออก

 

คลิกดูแผนที่ รถไฟฟ้าสายสีเขีวอ่อน

5. รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (BTS สายสีลม)

     เป็นรถไฟฟ้าเส้นทางที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (จุดเชื่อมต่อบริเวณสถานีสยาม) ปัจจุบันเปิดให้บริการที่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-สถานีบางหว้า อนาคตจะขยายเส้นทาง จากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-ยศเส และจากสถานีบางหว้าไปตลิ่งชันเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน

รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนส่วนต่อขยาย ช่วงบางหว้า – ตลิ่งชัน

  • ความคืบหน้า : อยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการ
  • ระยะทาง : ยกระดับทั้งหมด 6 สถานี ได้แก่ สถานีบางแวก, สถานีบางเชือกหนัง, สถานีบางพรม, สถานีอินทราวาส, สถานีบรมราชชนนี และสิ้นสุดสถานีตลิ่งชัน
  • สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 2 สาย 2 สถานี ดังนี้
  • เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีบางหว้า
  • เชื่อมต่อกับ สายสีแดงอ่อน ที่สถานีตลิ่งชัน

รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนส่วนต่อขยาย ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ – ยศเส

  • ความคืบหน้า : อยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการ
  • ระยะทาง : ยกระดับทั้งหมด 1 สถานี ได้แก่ สถานียศเส ซึ่งเป็นสถานีปลายทาง โดยมีจุดหมายเพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มที่สถานียศเสเท่านั้น
  • สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 1 สาย 1 สถานี ดังนี้
  • เชื่อมต่อกับ สายสีแดงเข้ม ที่สถานียศเส

 

แผนที่ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

6. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT บางซื่อ-หัวลำโพง-ท่าพระ-พุทธมณฑลสาย 4)

     ปัจจุบัน (2562) เปิดให้บริการครบทุกสถานี (ท่าพระ-หลักสอง) จำนวน 38 สถานี ระยะทาง 47 กิโลเมตร โดยเปิดส่วนต่อขยายหัวลำโพง-หลักสอง และบางซื่อ-ท่าพระในปี 2562 และจะเปิดให้บริการส่วนต่อขยายอย่างเป็นทางการ (เตาปูน-ท่าพระ) วันที่ 30 มีนาคม 2563 สำหรับส่วนต่อขยายจากหลักสองไปถึงพุทธมณฑล สาย 4 อยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการ

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ

  • ความคืบหน้า : เปิดใช้งานเป็นที่เรียบร้อย
  • ระยะทาง : ยกระดับทั้งหมด 10 สถานี
  • สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 3 สาย 3 สถานี ดังนี้
  • เชื่อมต่อกับ สายสีแดงเข้ม / สายสีแดงอ่อน ที่สถานีบางซื่อ
  • เชื่อมต่อกับ สายสีม่วง ที่สถานีเตาปูน
  • เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีท่าพระ

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง – บางแค

  • ความคืบหน้า : เปิดใช้งานเป็นที่เรียบร้อย
  • ระยะทาง : ใต้ดิน 4 สถานี ยกระดับ 7 สถานี
  • สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 4 สาย 4 สถานี ดังนี้
  • เชื่อมต่อกับ สายแดงเข้ม ที่สถานีหัวลำโพง
  • เชื่อมต่อกับ สายสีม่วง ที่สถานีเตาปูน
  • เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีท่าพระ
  • เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวอ่อน ที่สถานีบางหว้า

คลิกดูแผนที่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง

7. รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ)

     รถไฟฟ้าสายสีม่วงปัจจุบันเปิดให้บริการแล้วในช่วงสถานีเตาปูน-คลองบางไผ่ ระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร ซึ่งมีจุดเชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงินบริเวณสถานีเตาปูน และเร็วๆ นี้เตรียมก่อสร้างส่วนต่อขยายจากเตาปูนไปราษฎร์บูรณะ ระยะทางเพิ่มเติมประมาณ 23.6 กิโลเมตร คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในปี 2563

รถไฟฟ้าสายม่วง ช่วงเตาปูน – บางใหญ่(สถานีคลองบางไผ่)

  • ความคืบหน้า : เปิดใช้งานเป็นที่เรียบร้อย
  • ระยะทาง : ยกระดับทั้งหมด 15 สถานี
  • สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 4 สาย 3 สถานี ดังนี้
  • เชื่อมต่อกับ สายสีชมพู / สายสีน้ำตาล ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
  • เชื่อมต่อกับ สายสีแดงอ่อน ที่สถานีบางซ่อน
  • เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีเตาปูน

รถไฟฟ้าสายม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ

  • ความคืบหน้า : อยู่ระหว่างพิจารณาโครงการ
  • ระยะทาง : ทั้งหมด 17 สถานี สถานีใต้ดิน 10 สถานี ยกระดับ 7 สถานี
  • สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 4 สาย 4 สถานี ดังนี้
  • เชื่อมต่อกับ สายสีส้ม ที่สถานีผ่านฟ้า
  • เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีสามยอด
  • เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีสะพานพุทธ
  • เชื่อมต่อกับ สายสีแดงเข้ม ที่สถานีวงเวียนใหญ่

 

คลิกดูแผนที่ รถไฟฟ้าสายสีส้ม

8. รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี)

     ปัจจุบัน (2563) รถไฟฟ้าสายสีส้มอยู่ระหว่างการก่อสร้างช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร ซึ่งจะมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินหรือ MRT ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีน้ำตาล ที่สถานีลำสาลี เป็นเส้นทางใต้ดินและลอยฟ้า คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ประมาณปี 2566

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี

  • ความคืบหน้า : อยู่ระหว่างเวนคืนที่ดิน และเชิญชวนเอกชนมาร่วมลงทุน
  • ระยะทาง : ทั้งหมด 16 สถานี
  • สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 3 สาย 3 สถานี ดังนี้
  • เชื่อมต่อกับ สายสีชมพู ที่สถานีมีนบุรี
  • เชื่อมต่อกับ สายสีเหลือง ที่สถานีลำสาลี
  • เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมเเห่งประเทศไทย

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – ตลิ่งชัน

  • ความคืบหน้า : อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดในปี 2567
  • ระยะทาง : ทั้งหมด 12 สถานี
  • สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 5 สาย 6 สถานี ดังนี้
  • เชื่อมต่อกับ Airport Rail link ที่สถานีราชปรารภ
  • เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวเข้ม (BTS) ที่สถานีราชเทวี
  • เชื่อมต่อกับ สายสีแดงอ่อน ที่สถานียมราช
  • เชื่อมต่อกับ สายสีม่วง ที่สถานีสนามหลวง
  • เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีบางขุนนนท์
  • เชื่อมต่อกับ สายสีแดงอ่อน ที่สถานีตลิ่งชัน

 

คลิกดูแผนที่ รถไฟฟ้าสายสีชมพู

9. รถไฟฟ้าสายสีชมพู (ปากเกร็ด-หลักสี่-มีนบุรี-สุวินทวงศ์)

     รถไฟฟ้าสายสีชมพูจากแคราย-มีนบุรี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งรูปแบบจะเป็นรถไฟฟ้าโมโนเรล รางเดี่ยว ระยะทางประมาณ 36 กิโลเมตร จะมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายแดง สายสีเขียว สายสีเทาและสายสีส้ม กำหนดการจะสร้างเสร็จปี 2564

รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี

  • ความคืบหน้า : อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดในปี 2564
  • ระยะทาง : มีทั้งหมด 30 สถานี
  • สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 6 สาย 5 สถานี ดังนี้
  • เชื่อมต่อกับ สายสีม่วง / สายสีน้ำตาล ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
  • เชื่อมต่อกับ สายสีแดงเข้ม ที่สถานีหลักสี่
  • เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวเข้ม ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
  • เชื่อมต่อกับ สายสีเทา ที่สถานีวัชรพล
  • เชื่อมต่อกับ สายสีส้ม ที่สถานีมีนบุรี

คลิกดูแผนที่ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

10. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (รัชดาภิเษก-ลาดพร้าว-สำโรง)

     รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเส้นทางลาดพร้าว-สำโรง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร เป็นรูปแบบโมโนเรล จะมีจุดเริ่มต้นจากบริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าว และมีจุดตัดกับรถไฟฟ้าสายสีส้มที่สถานีลำสาลี แอร์พอร์ตลิงค์ที่สถานีหัวหมาก และเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีสำโรง กำหนดการจะแล้วเสร็จประมาณปี 2564 ส่วนต่อขยายจากบริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าวผ่านหน้าศาลอาญา มุ่งหน้ารัชโยธินอยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการ

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงลาดพร้าว – สำโรง

  • ความคืบหน้า : อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดในปี 2564 (บางส่วน)
  • ระยะทาง : ยกระดับทั้งหมด 25 สถานี
  • สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 7 สาย 5 สถานี ดังนี้
  • เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีรัชดา
  • เชื่อมต่อกับ สายสีเทา ที่สถานีลาดพร้าว 83
  • เชื่อมต่อกับ สายสีส้ม / สายสีน้ำตาล ที่สถานีแยกลำสาลี
  • เชื่อมต่อกับ สายสีแดงอ่อน / Airport Rail Link ที่สถานีหัวหมาก
  • เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวอ่อน ที่สถานีสำโรง

 

คลิกดูแผนที่ รถไฟฟ้าสายสีเทา

11. รถไฟฟ้าสายสีเทา (เฟส 1 วัชรพล-ทองหล่อ)

     รถไฟฟ้าสายสีเทา (วัชรพล-ทองหล่อ) เป็นโครงการรถไฟฟ้าในอนาคต เมื่อปลายปี 2562 ทางสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรหรือสนข. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กทม. อยู่ระหว่างการผลักดันการลงทุน เพื่อแก้ไขปัญหารถติดในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในและชั้นนอก

รถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ

  • ความคืบหน้า : อยู่ในช่วงพิจารณาโครงการ
  • ระยะทาง : มีทั้งหมด 15 สถานี
  • สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 3 สาย 3 สถานี ดังนี้
  • เชื่อมต่อกับ สายสีชมพู ที่สถานีวัชรพล
  • เชื่อมต่อกับ สายสีเหลือง ที่สถานีฉลองรัช
  • เชื่อมต่อกับ สายสีส้ม ที่สถานีพระราม 9
  • เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวเข้ม ที่สถานีทองหล่อ

รถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงพระโขนง-ท่าพระ

  • ความคืบหน้า : อยู่ในช่วงพิจารณาโครงการ
  • ระยะทาง : มีทั้งหมด 24 สถานี
  • สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 4 สาย 4 สถานี ดังนี้
  • เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีพระราม 4
  • เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวอ่อน ที่สถานีช่องนนทรี
  • เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวเข้ม ที่สถานีตลาดพลู
  • เชื่อมต่อกับ สายสีน้ำเงิน ที่สถานีท่าพระ

 

คลิกดูแผนที่ รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล

12. รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-ลำสาลี)

     รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-บึงกุ่ม) ระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร อัพเดตล่าสุดปี 2562 บอร์ดรฟม. เห็นชอบให้ลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าเส้นทางนี้ และมีการลงทุนควบคู่ไปกับการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยหรือกทพ. เพราะทั้ง 2 โครงการมีแนวเส้นทางเดียวกัน ตามแผนกำหนดเริ่มต้นก่อสร้างปี 2563-2564 และกำหนดจะเปิดให้บริการปี 2568

รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี

  • ความคืบหน้า : อยู่ในช่วงพิจารณาโครงการ
  • ระยะทาง : มีทั้งหมด 20 สถานี
  • สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 7 สาย 5 สถานี ดังนี้
  • เชื่อมต่อกับ สายสีชมพู / สายสีม่วง ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
  • เชื่อมต่อกับ สายสีแดงเข้ม ที่สถานีบางเขน
  • เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวอ่อน ที่สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เชื่อมต่อกับ สายสีเทา ที่สถานีฉลองรัช
  • เชื่อมต่อกับ สายสีส้ม / สายสีเหลือง ที่สถานีแยกลำสาลี

คลิกดูแผนที่ รถไฟฟ้าสายสีทอง

13. รถไฟฟ้าสายสีทอง (กรุงธนบุรี-ประชาธิปก)

     รถไฟฟ้าสายสีทอง (กรุงธนบุรี-ประชาธิปก) เป็นรถไฟฟ้าเส้นทางระยะสั้น รูปแบบโมโนเรลหรือรางเดี่ยว พัฒนาโครงการโดยกทม. และกลุ่มไอคอน สยาม ระยะรวม 2.8 กิโลเมตร 4 สถานี แบ่งออกเป็น 2 เฟส โดยเฟสแรกอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 1.8 กิโลเมตร 3 สถานี เชื่อมต่อไอคอน สยาม บริเวณสถานีเจริญนคร ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการปี 2563

รถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงกรุงธนบุรี-สถานีประชาธิปก

  • ความคืบหน้า : อยู่ระหว่างก่อสร้าง ที่คาดว่าจะเปิด 3 สถานีแรก ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรี, สถานีเจริญนคร และสถานีคลองสาน ภายในปี 2563
  • ระยะทาง : ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 4 สถานี
  • สถานี Interchange : รถไฟฟ้า 1 สาย 1 สถานี ดังนี้
  • เชื่อมต่อกับ สายสีเขียวอ่อน ที่สถานีกรุงธนบุรี

  • เลือกเครื่องฟอกอากาศ ลดฝุ่น PM2.5 แบบไหน วางไว้จุดไหนของบ้าน ได้ประสิทธิภาพกรองฝุ่นดีที่สุด
  • เปิดค่าธรรมเนียม การโอนที่ดิน 2568 ซื้อ-ขาย มอบที่ดินมรดกญาติ เปลี่ยนกรรมสิทธิ์ มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
  • 108 ปี หัวลำโพง 10 จุดเช็กอินประวัติศาสตร์ เรียนรู้ประวัติศาสตร์รถไฟไทยสุดคลาสสิค
  • หลังคาเมทัลชีท แบบไหนช่วยลดเสียงสะท้อน มีน้ำหนักเบาทนต่อสภาพอากาศ มีวิธีเลือกอย่างไร
  • รวมบริษัทรับสร้างบ้าน 2567 มีแบบบ้านให้เลือกหลากหลายสไตล์ ประหยัดงบ ตามเทรนด์คนรุ่นใหม่
  • ทาสแมวรู้ไว้ "สีขนแมว" บอกนิสัยได้ มีการเล่นที่แตกต่างกันอย่างไร
  • 10 เครื่องซักผ้าฝาหน้า เทคโนโลยีอัจฉริยะ ทำงานเงียบช่วยประหยัดน้ำ ยอดนิยมของปี 2024 ยี่ห้อไหนบ้าง
  • จำนอง กับ ขายฝาก เงินที่ได้ไม่เท่ากัน ควรรู้ก่อนทำสัญญา มีเสียภาษีอะไรบ้าง
  • เลือกแอร์แบบไหน ช่วยประหยัดไฟในช่วงหน้าร้อน พร้อมแนะนำทริค กับ เคล็ดลับประหยัดได้จริง
  • จำนอง กับ ขายฝาก เงินที่ได้ไม่เท่ากัน ควรรู้ก่อนทำสัญญา มีเสียภาษีอะไรบ้าง
  • ทาสแมวรู้ไว้ "สีขนแมว" บอกนิสัยได้ มีการเล่นที่แตกต่างกันอย่างไร
  • 10 เครื่องซักผ้าฝาหน้า เทคโนโลยีอัจฉริยะ ทำงานเงียบช่วยประหยัดน้ำ ยอดนิยมของปี 2024 ยี่ห้อไหนบ้าง
  • 108 ปี หัวลำโพง 10 จุดเช็กอินประวัติศาสตร์ เรียนรู้ประวัติศาสตร์รถไฟไทยสุดคลาสสิค
  • เมื่อเราเลิกกันบ้านนี้ใครได้ เมื่อต้องอย่าร้างเราควรจัดการทรัพย์สิน อย่างไร?
  • เลือกเครื่องฟอกอากาศ ลดฝุ่น PM2.5 แบบไหน วางไว้จุดไหนของบ้าน ได้ประสิทธิภาพกรองฝุ่นดีที่สุด
  • เปิดค่าธรรมเนียม การโอนที่ดิน 2568 ซื้อ-ขาย มอบที่ดินมรดกญาติ เปลี่ยนกรรมสิทธิ์ มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
  • เลือกแอร์แบบไหน ช่วยประหยัดไฟในช่วงหน้าร้อน พร้อมแนะนำทริค กับ เคล็ดลับประหยัดได้จริง
  • ระเบียบข้อบังคับจราจร การจอดรถในพื้นที่สาธารณะ ส่วนกลางหมู่บ้าน
  • หลังคาเมทัลชีท แบบไหนช่วยลดเสียงสะท้อน มีน้ำหนักเบาทนต่อสภาพอากาศ มีวิธีเลือกอย่างไร
  • อัพเดทข้อมูลรถไฟฟ้า 13 สาย ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปี 2563

    การเดินทางด้วยรถขนส่งสาธารณะ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่รวดเร็วและสบายที่สุดของคนเมืองก็คงหนีไม่พ้นรถไฟฟ้า เพราะในเรื่องของการควบคุมเวลา ได้ข่อนข้างแม่นยำ และช่วยประหยัดการใช้จ่ายในการใช้รถยนค์ส่วนตัว และปัจจุบันนี้เส้นทางรถไฟฟ้าได้ถูกขยายออกไปในหลายๆ เส้นทาง ไม่เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ยังขยายออกไปในเขตปริมณฑลอีกด้วย

    @thaihometown Scroll