
ประกันสังคม สรุปมาตรการช่วยผู้ประกันตนจากโควิด-19 ที่กำลังระบาดระลอกใหม่ โดยลดเงินสมทบให้ผู้ประกันตนมาตรา 33, มาตรา 39 จำนวน 12.9 ล้านคน และนายจ้าง 4.85 แสนราย ซึ่งแต่ละมาตรามีการเยียวยาเรื่องอะไรบ้าง เช็กได้ที่นี่

นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กลุ่มเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชนนัดรวมตัวที่บริเวณหน้าสำนักงาน ก.พ. ฝั่งตรงข้ามทำเนียบรัฐบาลยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการเยียวยาแรงงานในระบบประกันสังคมมาตรา 33 จำนวน 11 ล้านคน ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 รอบใหม่ให้มีมาตรการเยียวยาที่ชัดเจน เพียงพอ ครอบคลุมประชาชนทุกคน และจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 3,500 บาท เป็นเวลา 2 เดือน

คลิกดูภาพ ประกันสังคมลดเงินสมทบ
ทั้งนี้ จากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 รอบใหม่ กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม ได้เสนอกฎกระทรวงลดอัตราเงินสมทบ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงแก้ไขเพิ่มเติม เรื่อง การกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมให้คงการลดเงินสมทบนายจ้าง เหลือร้อยละ 3 ผู้ประกันตนมาตรา 33 ลดเงินสมทบเหลือร้อยละ 0.5 และผู้ประกันตนมาตรา 39 ลดเหลือ 38 บาท (จากที่จ่ายเดือนละ 432 บาท) เป็นระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่งวดเดือน กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2564
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งการลดเงินสมทบครั้งนี้จะช่วยลดภาระแก่ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 จำนวน 12.9 ล้านคน และนายจ้าง 4.85 แสนราย คาดว่าจะเป็นเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจรวม 23,119 ล้านบาท
สำหรับขั้นตอนของกฎกระทรวงดังกล่าว สำนักงานประกันสังคมจะได้เร่งดำเนินการเพื่อให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ทันภายในกำหนด จึงขอให้นายจ้างและผู้ประกันตนมั่นใจการดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคมภายใต้ นโยบายเร่งด่วนของนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของผู้ประกันตนให้ตรงจุดและทันท่วงที เนื่องจากปัญหาเรื่องความเป็นอยู่ ปากท้องของพี่น้องผู้ใช้แรงงานเป็นเรื่องสำคัญ
"ประกันสังคม" ช่วยเหลือผู้ประกันตนยังไงบ้าง?

ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้ และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อรับผิดชอบเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์ ชราภาพ และการว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาล และมีการทดแทนรายได้ โดยทั่วไปหากเป็นผู้ประกันตน ม.33 จะต้องจ่ายเงินสมทบเข้าประกันสังคมจำนวน 5% ของเงินเดือน ทุกเดือน
คุณสมบัติ ผู้ประกันตนมาตรา 33
- พนักงานเอกชนทั่วไป
- ลูกจ้างที่ยังทำงานในสถานประกอบการที่มีนายจ้าง
เงินสมทบ
- 5% ของเงินเดือน สูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน
สำหรับในเคสทั่วๆ ไป หากผู้ประกันตนเกิดมีเหตุให้ "ตกงาน" หรือ "ว่างงาน" หรือเจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุ ชราภาพ ฯลฯ ทาง สำนักงานประกันสังคม จะให้ความช่วยเหลือ ดังนี้
สิทธิประโยชน์
- ว่างงาน :
- ว่างงาน จากการถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินชดเชย 50% ของเงินเดือน เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน
- ว่างงาน จากการลาออก ได้รับเงินชดเชย 30% ของเงินเดือน เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
- เมื่อลาออกจากงาน สามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน โดยมิต้องเสียค่าใช้จ่าย (กรณีเจ็บป่วย ประสบอันตราย คลอดบุตร ทุพพลภาพ และเสียชีวิต)
- เจ็บป่วย : รับเงินชดเชยหยุดงาน 70% ของเงินเดือน ต้องมีใบรับรองแพทย์
- คลอดบุตร : เหมาจ่ายครั้งละ 13,000 บาท ได้เงินชดเชยหยุดงาน 50% ของเงินเดือน เป็นเวลา 90 วัน
- สงเคราะห์บุตร : เดือนละ 800 บาท ต่อเนื่องตั้งแต่ 0-6 ปี คราวละไม่เกิน 3 คน
- ทุพพลภาพ : รับเงินชดเชยหยุดงานเพิ่มเป็น 70% ของเงินเดือน ไม่น้อยกว่า 15 ปี
- ชราภาพ : รับเงินบำนาญชราภาพ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน)
- เสียชีวิต : นายจ้างต้องจ่ายค่าทำศพให้ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
การสมัคร
กรณีเหตุสุดวิสัย "โควิด-19" ประกันสังคมช่วยเหลือยังไงบ้าง?
ผู้ที่อยู่ในประกันสังคมมาตรา 33 มีสิทธิได้รับเงินเยียวยา กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย "โควิด-19" ระลอกที่ 2 ซึ่งเงินเยียวยานี้จะจ่ายให้กับ "ลูกจ้าง" ที่อยู่ใน "ประกันสังคม มาตรา 33" ที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไข"
คือต้องเป็น "ลูกจ้าง" ที่ต้องหยุดงานกรณีกักตัวหรือราชการสั่งปิดสถานที่เนื่องจากเหตุสุดวิสัยโควิด-19 มีสิทธิได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน 50% ของค่าจ้างรายวัน โดยจะได้รับตลอดระยะเวลาที่มีการกักตัวหรือเฝ้าระวัง หรือมีคำสั่งปิดสถานที่ดังกล่าว (แล้วแต่กรณี) รวมกันไม่เกิน 90 วัน และถ้าเป็นการหยุดกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด นายจ้างต้องจ่ายเงินให้กับลูกจ้างไม่น้อยกว่า 75% ของค่าจ้าง ก่อนหยุดการจ้างเป็นการชั่วคราว
โดยคำว่า "เหตุสุดวิสัย" ที่ให้มีการ "จ่ายเงินทดแทนได้" หมายถึง ภัยที่เกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณชนถึงขนาดที่ทำให้ผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้ หรือ นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ การกำหนดให้กรณีมีเหตุสุดวิสัยและหน่วยงานของรัฐสั่งปิดพื้นที่เพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่ออันตราย อันส่งผลให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น
ขั้นตอนการขอรับเงินเยียวยา กรณีเหตุสุดวิสัยจาก "โควิด-19"

คลิกดูภาพ การขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน
กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย "โควิด-19" ระลอกใหม่ ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่เป็นลูกจ้างในสถานประกอบการที่ถูกสั่งปิดจากรัฐ จะต้องดำเนินการเพื่อขอรับ "เงินเยียวยา" กับ "นายจ้าง" ตามขั้นตอนเบื้องต้น ดังนี้
1. ลูกจ้างกรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01/7) แล้วส่งให้นายจ้าง พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก
2. นายจ้างรวบรวมแบบคำขอ (สปส.2-01/7) จากลูกจ้างทุกคนที่ยื่น
3. นายจ้างบันทึกข้อมูลในระบบ e-service (www.sso.go.th) ใส่ข้อมูลลูกจ้างตามแบบคำขอ (สปส.2-01/7) แนบหนังสือรับรองการหยุดงานกรณีราชการสั่งปิด/กรณีกักตัว
4. นายจ้างนำส่งแบบคำขอ (สปส.2-01/7) ไปที่ สนง.ประกันสังคมในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ภายใน 3 วันทำการ
5. สนง.ประกันสังคม ได้รับข้อมูลพร้อมตรวจสอบให้ถูกต้องครบถ้วน จากนั้นจะทำการอนุมัติจ่ายรอบแรก เงินเข้าบัญชีภายใน 5 วันทำการ ส่วนที่เหลือโอนเข้าบัญชีทุกสิ้นเดือนจนครบ *กรณีเงินไม่เข้าบัญชี โทร.สายด่วน 1506
ประกันสังคมมาตรา 39 และมาตรา 40 ได้รับการเยียวยาอะไรบ้าง?
สำหรับผู้ประกันตน ประกันสังคมมาตรา 39 และมาตรา 40 เป็นผู้ประกันตนเองที่ไม่มีนายจ้าง เป็นกลุ่มที่มีลุ้นว่าจะได้รับการเยียวยาจากโครงการ “เราชนะ” ที่คาดว่าจะเปิดให้ลงทะเบียนได้ปลายเดือนมกราคมนี้ ซึ่งจะมีขั้นตอนการลงทะเบียนอย่างไร จะต้องรอการอนุมัติจากมติ ครม. วันที่ 19 ม.ค. 64 อีกครั้งหนึ่ง
โดยโครงการ “เราชนะ” เป็นโครงการเยียวยาประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระ แรงงานนอกระบบ ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 ระลอกใหม่

ประชาชนกลุ่มนี้จะได้รับเงินเยียวยารายละ 3,500 บาท เป็นระยะเวลา 2 เดือน นั่นหมายความว่าผู้ที่มีสิทธิจะได้รับเงินรวม 7,000 บาทต่อคน ภายในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2564
นอกจากนี้ตามหลักการแล้ว คาดว่าลูกจ้างที่อยู่ในประกันสังคมมาตรา 33 จะไม่ได้รับสิทธินี้ เนื่องจากได้รับการเยียวยาในกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยโควิด-19 ไปแล้ว
คุณสมบัติ ผู้ประกันตนมาตรา 39
- ลาออกจากพนักงานเอกชนแล้ว
- เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
- ส่งเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน
- ลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน
เงินสมทบ
สิทธิประโยชน์
- เจ็บป่วย
- คลอดบุตร
- สงเคราะห์บุตร
- ทุพพลภาพ
- ชราภาพ
- เสียชีวิต
การสมัคร
- สมัครด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่
คุณสมบัติ ผู้ประกันตนมาตรา 40
- อาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ ค้าขาย
- ไม่มีนายจ้างประจำ
- อายุ 15-65 ปี
เงินสมทบ
- ทางเลือก 1 : 70 บาท/เดือน
- ทางเลือก 2 : 100 บาท/เดือน
- ทางเลือก 3 : 300 บาท/เดือน
สิทธิประโยชน์
- ทางเลือก 1 : เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต
- ทางเลือก 2 : เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ
- ทางเลือก 3 : เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ สงเคราะห์บุตร
การสมัคร
- สมัครด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่
- สมัครผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม
ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ รายละเอียด "การเยียวยา" ของ "ประกันสังคม" มาตราต่างๆ สามารถสอบถามได้ที่ สำนักงานประกันสังคม หมายเลข 1506 หรือสอบถามด้วยตัวเองที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ใกล้บ้านคุณ