
ฝ้าเพดาน กับ หลังคา เป็นจุดที่มักจะเจอปัญหา น้ำรั่ว ได้มากที่สุดในบ้าน โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนหรือในช่วงมรสุมต่างๆ ตามฤดูกาลที่ทำให้หลายคนเพิ่งเจอปัญหา แต่อีกกรณีที่เกิดขึ้นได้ก็อาจจะมาจากระบบประปาภายในบ้านมีการรั่วซึม ดังนั้นหากเกิดปัญหาขึ้นมาจะซ่อมแซมอย่างไร มาดูวิธีกันครับ 

วิธีแก้ปัญหา เพดาน มี น้ำรั่ว 
ปัญหาเพดานมีน้ำรั่วซึมนั้นมักจะเกิดขึ้น 3 ตำแหน่งภายในบ้าน นั่นคือ ตำแหน่งห้องน้ำ ตำแหน่งที่มีรอยร้าวจากผนัง และตำแหน่ง หลังคา หากใครพบว่าที่บ้านกำลังแจอปัญหาฝ้สเพดานมี น้ำรั่ว หรือมีร่องรอยน้ำซึมอยู่แนะนำให้รีบแก้ไขก่อนปัญหาจะบานปลายทำให้ร่องรอยรั่วซึมเหล่านี้ขยายตัวไปเรื่อยๆ จนเกิดปัญหาต่อโครงสร้างบ้านในที่สุด

1. ฝ้าเพดาน รั่วซึมจากห้องน้ำ
กรณีนี้จะเกิดกับบ้านที่มีหลายชั้น หากพบว่า เพดาน ชั้นล่างส่วนที่ตำแหน่งตรงกับห้องน้ำชั้นบนเริ่มมีคราบน้ำเป็นจุดด่างสีน้ำตาลก็ค่อนช้างจะชัดเจนเลยว่ามีการรั่วซึมมาจกห้องน้ำชั้นบน ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ยาแนวพื้นเสื่อมสภาพ การปูกระเบื้องพื้นไม่ได้มาตรฐาน ท่อน้ำทิ้งห้องน้ำเกิดการรั่วไหล หรือข่อต่อท่อน้ำต่างๆ เกิดการชำรุด เป็นต้น วิธีแก้ไขในกรณีนี้จึงต้องเปิดช่องเซอร์วิสของฝ้าเพดานด้านล่างเพื่อตรวจสอบหาจุดที่มีการรั่วซึม
หากพบว่าปัญหามาจากท่อน้ำรั่วก็สามารถใส่ยาแนว ทากาวซ่อมท่อได้ตามปกติ แต่หากเป็นปัญหาที่เกิดจากพื้นห้องน้ำมีช่องว่าง มีรอยกร่อนรอบรูท่อต่างๆ ก็สามารถใช้วัสดุอุดปิดช่องว่างนั้นให้เรียบร้อยได้เช่นกัน ส่วนปัญหาที่เกิดจากรอยรั่วบริเวณรอยต่อระหว่างสุขภัณฑ์กับพื้นกระเบื้อง หรือรอยรั่วซึมจากยาแนวที่เสื่อมประสิทธิภาพ กรณีนี้ต้องแก้ปัญหาที่ห้องน้ำชั้นบน หากปัญหายังไม่หนักก็สามารถขูดยาแนวเดิมออกเพื่อลงยาแนวใหม่ แต่หากเป็นปัญหาหนักก็อาจจะต้องรื้อพื้นกระเบื้อง ทำระบบ Waterproofing System ใส่กันซึมแล้วปูกระเบื้องพร้อมยาแนวใหม่ทั้งหมด

2. เพดาน มีรอย น้ำรั่ว จากผนังร้าวและรอยรั่วชายคา
หลายคนอาจไม่เคยนู้มาก่อนว่ารอยร้าวที่ผนังบ้านก็สามารถทำให้กิดปัญหา ฝ้าเพดาน รั่วซึมได้เช่นกัน โดยมักจะเกิดบริเวณช่วงรอยต่อของผนังชนคานที่เป็นเส้นระหว่างผนังกับใต้คาน ทำให้มีโอกาสที่น้ำฝนจะไหลเข้าสู่ตัวบ้านและเพดานจนทำให้เกิดการรั่วซึมได้ อีกส่วนหนึ่งคือรอยร้าวบริเวณชายคาซึ่งหากติดตั้งตะเข้รางไม่ดีก็อาจมีปัญหาน้ำย้อนเข้าเชิงชายและฝ้าเพดานได้เช่นกัน
สำหรับการแก้ไขปัญหา เพดาน รั่วซึมจากผนังร้าวในกรณีที่รอยร้าวยังไม่ลึกและยังไม่ขยายกว้างก็สามารถใช้วัสดุกันซึม หรือสีโป๊วที่มีความยืดหยุ่นสูงมาทำการอุดรอยร้าวนั้นได้ ส่วนวิธีแก้ปัญหารั่วซึมบริเวณชายคาคือต้องหมั่นทำความสะอาดรางน้ำฝนอยู่เสมอ หรืออาจพิจารณาติดตั้งรางน้ำฝนใหม่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือน้ำหนักเบาขึ้น เพื่อลดภาระการรับน้ำหนักของตัวบ้านที่ทำให้เกิดรอยร้าวได้นั่นเอง

3. ฝ้าเพดานรั่วซึมจากหลังคา
กรณีนี้ถือว่ามีกระทบต่อบ้านมากที่สุดเพราะถือเป็นปัญหาชิงโครงสร้าง ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งกระเบื้องหลังคาแตก กระเบื้องหลังคาซ้อนกันไม่สนิท ปูนยึดครอบกระเบื้องแตกหักหรือเสื่อมสภาพ การเกิดรั่วบริเวณอุปกร์ยึด และอีกหลายสาเหตุที่ทำให้เกิด น้ำรั่ว จาก หลังคา ลงมายัง เพดาน ได้ โดยวิธีตรวจสอบเบื้องต้นว่าฝ้ารั่วซึมจากปัญหาหลังคาหรือไม่สามารถทำได้โดยลองสังเกตรอยด่างของน้ำบน เพดาน หากตำแหน่งของรอยด่างไม่ชัดเจนว่าอยู่ที่จุดใด หรือมีการกระจายตัวไปทั่ว โดยไม่ตรงกับห้องน้ำชั้นบนหรือขอบผนังของบ้าน ก็เดาได้เลยว่าเกิด น้ำรั่ว จาก หลังคา นั่นเอง
สำหรับวิธี ซ่อมหลังคารั่ว นั้นหากใครไม่มีความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในการซ่อมแซมมาก่อน แนะนำให้ติดต่อช่างผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินการหาสาเหตุและซ่อมแซมให้ดีกว่า เพราะบางทีร่องรอยเพียงเล็กน้อยอาจซ่อนปัญหาใหญ่ที่ยังไม่แสดงอาการออกมาให้เห็น การซ่อมแซมอย่างผิดวิธีหรือขาดประสบการณ์จึงอาจทำให้เกิดปัญหาบานปลายตามมาได้ แต่สำหรับใครที่เชี่ยวชาญเรื่องงานซ่อมแซมก็สามารถ ซ่อมหลังคารั่ว ด้วยตัวเองได้
วิธีซ่อมหลังคารั่ว 
อย่างที่บอกไปแล้วว่าปัญหา หลังคา รั่วเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ดังนั้นวิธี ซ่อมหลังคารั่ว จึงแตกต่างกันออกไปตามแต่ละสาเหตุด้วย หากเป็นปัญหาเล็กๆ น้อยๆ เจ้าของบ้านก็สามารถหาสาเหตุและซ่อมแซมเองได้ตามวิธีต่อไปนี้เลย
1. หลังคา รั่วจากแผ่นหลังคามีรอยผุร้าว
เป็นปกติที่แผ่นกระเบื้องมุงหลังคาที่มีอายุการใช้งานมายาวนานจะเกิดการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา แต่แผ่นหลังคาใหม่ก็มีโอกาสแตกร้าวจากการกระแทกของกิ่งไม้ หรือเศษวัสดุต่างๆ ได้เช่นกัน วิธีซ่อมแซมในกรณีที่มีรอยร้าวไม่มากคือการปิดทับด้วยกาวซิลิโคน กาวอะคริลิค และเทปกันซึม แต่หาหแผ่นกระเบื้องนั้นมีรอบแตกร้าวเสียหายมากก็แปลี่ยนแผ่นกระเบื้องมุงหลังคาแผ่นใหม่ดีกว่า
2. หลังคารั่วซึมบริเวณครอบสันหลังคา
ครอบสันหลังคานั้เป็นชิ้นส่วนที่ใช้ปิดทับรอยต่อระหว่างหลังคาแต่ละด้าน หากมีการประกอบไม่ดี ทำให้มีช่องโหว่ หรือปูนปั้นใต้สันหลังคาแตกก็ทำให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมได้ ซึ่งวิธีการแก้ไขสามารถทำได้ 2 รูปแบบตามวิธีครอบสันหลังคาของแต่ละบ้าน หากเป็นการครอบสันหลังคาแบบแห้ง ต้องถอดตัวครอบสันหลังคาที่มีปัญหาออกมา ตรวจสอบแผ่นรองว่าหลุดร่อนหรือไม่ หากมีปัญหาก็สามารถใช้วัสดุกันซึมแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก่อน หรือรื้อแล้วปิดใหม่เลยก็ได้ แต่หากเป็นการครอบหลังคาแบบเปียก ต้องถอดตัวครอบสันหลังคาที่มีปัญหา กะเทาะปูนเก่าออกแล้วค่อยปั้นปูนประกบครอบหลังคาใหม่นำไปอุดระหว่างตัวครอบกับแผ่นหลังคาให้สนิท
3. ปัญหารั่วซึมเพราะหลังคาเปิดเผยอ
ในกรณีที่หลังคาเปิดเผยอเมื่อโดนลมพายุ หรือเพราะเสาอากาศที่ติดตั้งบนหลังคาดึงรั้งจนแผ่นกระเบื้องเผยอขึ้นนั้น สามารถแก้ไขได้ด้วยการจัดแผ่นกระเบื้องหลังคาให้กลับเข้าที่ แล้วยึดให้แน่นด้วยปูน กาวยึด หรือสกรู หากมีการติดตั้งสลิงรั้งเสาอากาศก็ควนเปลี่ยนจุดยึดสลิงใหม่ โดยอาจเปลี่ยนจุดยึดจากหลังคาเป็นเสาบ้านจะดีกว่า

4. ปัญหารั่วซึมบริเวณอุปกรณ์ยึด
สำหรับ หลังคา อย่างกระเบื้องลอนคู่ เมทัลชีท หรือหลังคาสังกะสี มักจะมีการยึดแผ่นหลังคาด้วยสกรูซึ่งเป็นจุดที่มีความเสี่ยงต่อการรั่วซึม วิธีซ่อมหลังคารั่ว ในกรณีนี้คือต้องตรวจสอบตัวสกรูยึดหลังคาก่อน หากสกรูมีการเสื่อมสภาพก็ควรเปลี่ยนสกรูใหม่ หรืออีกวิธีคือการใช้วัสดุกันซึมทาทับลงไปเพื่อช่วยอุดรอยรั่ว
5. หลังคาบริเวณขอบชนผนังบ้านรั่วซึม
มักเกิดกับบริเวณส่วนต่อเติมของบ้าน เช่น หลังคาสำหรับพื้นที่จอดรถ หรือครัวไทยนอกบ้าน เป็นต้น เพราะการต่อเติมแบบนี้มักจะต่อเติมเป็นโครงสร้างแยก ไม่ให้ยึดติดกับตัวบ้านหลักเพื่อป้องกันการทรุดตัวในอนาคต หลังคาระหว่างส่วนสต่อเติมกับส่วนตัวบ้านจึงมักไม่แนบสนิทกัน ทำให้เกิดปัญหาการรั่วซึมตามมา วิธีแก้ปัญหาคือตรวจสอบแผ่นปิดรอยต่อว่ามีจุดที่เสื่อมสภาพหรือปิดไม่สนิทหรือไม่ เมื่อพบจุดที่เป็นปัญหาแล้วให้ใช้กาวซิลิโคนยิ่งประสานระหว่างรอยต่อให้แนบสนิทก็เรียบร้อย

6. หลังคาดาดฟ้ารั่วซึม
สำหรับบ้านที่ไม่ได้มีการมุงหลังคา แต่เป็นรูปแบบของดาดฟ้าก็มีโอกาสเกิดการรั่วซึมได้เช่นกัน โดยจะเกิดจากพื้นปูนบนดาดฟ้ามีรอยร้าว หรือแผ่นคอนกรีตที่ใช้วางดาดฟ้าประกบกันได้ไม่แนบสนิท แม้จะมีการป้องกันการรั่วซึมด้วยการทาน้ำยากันซึมแล้ว แต่หากน้ำยาเสื่อมสภาพก็หมดประสิทธิภาพในการช่วยป้องกันการรั่วซึมได้เช่นกัน วิธีแก้ไขในกรณีนี้คือให้ทาน้ำยากันซึมสำหรับดาดฟ้าใหม่อีกครั้ง แต่หากมีรอยร้าวขนาดใหญ่ก็ควรซ่อมแซมรอยร้าวด้วยปูนฉาบเสียก่อน แล้วค่อยทาน้ำยากันซึมทับอีกชั้นหนึ่ง
ทั้งหมดนี้คือเทคนิคดีๆ ในการตรวจสอบและแก้ปัญหาน้ำรั่วซึมจาก ฝ้าเพดาน และวิธีซ่อมหลังคารั่ว ที่นำมาฝากกัน อย่าลืมว่าถ้าอยากแก้ไขซ่อมแซมด้วยตัวเองก็ให้ระมัดระวังถึงเรื่องความปลอดภัยด้วย ที่สำคัญเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ซ่อมแซมคุณภาพดี ได้มาตรฐาน จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาทีหลังครับ 