
ที่ดิน เป็นอีกหนึ่งทรัพย์สินที่หลายคนซื้อเก็บไว้ เพราะราคาสูงขึ้นทุกปี การประเมินราคาที่ดินเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ควรรู้ไว้ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือต้องการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยราคาประเมินที่ดิน เป็นราคาที่ดินที่ถูกประเมินโดยกรมธนารักษ์ เพื่อใช้คำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะเกิดระหว่างการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้ซื้อได้สะดวก
ที่ดินเป็นอีกหนึ่งทรัพย์สินที่หลายคนซื้อเก็บไว้ เพราะราคาสูงขึ้นทุกปี สำหรับคนที่อยากอัปเดตว่าตอนนี้ราคาประเมินที่ดินของเรามีมูลค่าประมาณเท่าไร ก็สามารถเช็กราคาประเมินที่ดินออนไลน์ด้วยตัวเองง่าย ๆ ไว้เป็นข้อมูลก่อนทำการซื้อขาย ในบทความนี้จะมาแนะนำให้รู้ว่าการดูราคาประเมินที่ดินต้องทำอย่างไร และมีระเบียบที่เกี่ยวข้องที่ควรรู้ ตามที่กรมธนารักษ์ได้กำหนดไว้อย่างไรบ้าง
ราคาประเมินที่ดิน คืออะไร
ราคาประเมินที่ดิน คือ ราคากลางของที่ดินที่ประเมินจากเกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ ได้แก่ ราคากลางจากกรมธนารักษ์ ราคาตลาด และปัจจัยเสริมอื่น ๆ เช่น ขนาด ทำเล สภาพ ฯลฯ ซึ่งทำการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญที่เป็นเจ้าหน้าที่ของธนาคารและบริษัทเอกชน เอาไว้ใช้สำหรับพิจารณาวงเงินกู้ของสถาบันนการเงินต่าง ๆ และเป็นแนวทางในการกำหนดราคาที่ดินแต่ละแห่ง ทั้งนี้ราคาประเมินที่ดินนั้นอาจมีความแตกต่างกับราคาตลาดและราคาซื้อ-ขายที่ดินที่เกิดจากการตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
วิธีเช็กราคาประเมินที่ดินออนไลน์
สามารถค้นหาราคาประเมินที่ดินออนไลน์ด้วยตัวเองได้หลายวิธี โดยแบ่งเป็นการค้นหาราคาประเมินแบบมีโฉนดและไม่มีโฉนด ดังนี้

วิธีเช็กราคาประเมินที่ดินออนไลน์แบบมีโฉนด
ราคาประเมินที่ดินที่จัดทำโดยกรมธนารักษ์ โดยส่วนใหญ่จะนำมาใช้เป็นหนึ่งในเกณฑ์อ้างอิงของราคาซื้อ-ขาย สามารถเช็กราคาประเมินที่ดินออนไลน์เองง่าย ๆ ดังนี้
1. เข้าเว็บไซต์ https://assessprice.treasury.go.th/
2. กดเลือกเมนูที่ต้องการค้นหา โดยสามารถค้นได้จากเลขที่โฉนด เลขที่ดิน น.ส. 3 ก. ห้องชุด และสิ่งปลูกสร้าง โดยใส่ข้อมูลแล้วกดค้นหา
▼ ตัวอย่างการค้นหาจากเลขที่โฉนด
ใส่เลขที่โฉนด หน้าสำรวจ จากนั้นเลือกจังหวัดและอำเภอ


จากนั้นจะปรากฏราคาประเมินที่ดินต่อตารางวามาให้

วิธีเช็กราคาประเมินที่ดินออนไลน์แบบไม่มีโฉนด
สามารถค้นหาได้จากระบบค้นหารูปแปลงที่ดินของกรมที่ดิน ผ่านทางเว็บไซต์ https://landsmaps.dol.go.th/ จากนั้นเลือกจังหวัดและอำเภอที่ต้องการ หากมีเลขที่โฉนดก็สามารถใส่เพิ่มเติมได้ หากไม่มีโฉนดสามารถกดซูมแล้วคลิกพื้นที่ที่ต้องการทราบราคาประเมิน จากนั้นก็จะปรากฏข้อมูลต่าง ๆ เช่น ที่ตั้ง เนื้อที่ และราคาประเมินที่ดิน


ในบางครั้งผู้ซื้อหรือนายหน้าค้าขายที่ดินก็อยากจะทราบราคาประเมินที่ดิน แต่ยังไม่มีโฉนดอยู่กับตัวก็ไม่เป็นไร การตรวจสอบราคาประเมินที่ดินแบบไม่มีโฉนด ก็ยังทำได้ไม่ยากเย็นมากนัก เพียงเริ่มทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
- 1. เข้าเว็บไซต์ ระบบค้นหารูปแปลงที่ดิน ของกรมที่ดิน หรือ เปิดใช้งานแอปพลิเคชัน Landmaps
- 2. ซูมแผนที่เข้าไปค้นหาที่ตั้งที่ดินที่ต้องการตรวจสอบราคา หรือค้นหาจากจังหวัด เขต แขวง หรือแม้กระทั่งค้นหาสถานที่สำคัญในบริเวณใกล้เคียง ไม่ต่างจากการใช้ Google Maps
- 3. คลิกบนที่ตั้งที่ดินที่ต้องการตรวจสอบราคา 2 ครั้ง จากนั้นระบบจะแสดงขอบเขตที่ดินขึ้นมา ให้คลิกไปบนกรอบขอบเขตที่ดินที่ต้องการดู จากนั้นรายละเอียดข้อมูลโฉนด ขนาดที่ดิน รวมทั้งราคาประเมินจะปรากฎให้ได้ดูทันที
วิธีเช็กสรุปราคาประเมินที่ดิน

นอกจากนี้ยังสามารถค้นหาสรุปราคาประเมินที่ดินของจังหวัดต่าง ๆ ได้อีกด้วย โดยเลือกค้นหาตามรายชื่อจังหวัดทีต้องการ

จากนั้นจะมีข้อมูลภาพรวมการประเมินราคาเป็นรายถนน ซึ่งหากต้องการราคาประเมินที่ดินเฉพาะแปลงต้องตรวจสอบกับสำนักงานที่ดินหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง
หนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินกรมธนารักษ์ต้องทำอย่างไร
การตรวจสอบราคาประเมินนั้นสามารถทำได้เองในเว็บไซต์ แต่หากต้องการขอหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดิน ก็จะไปขอได้ที่สำนักงานที่ดินท้องที่ โดยผู้ขอจะต้องเป็นเจ้าของที่ดิน หรือเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินแปลงนั้น และจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการขอรับรองราคาประเมินตามระเบียบ

เอกสารที่ต้องเตรียม เพื่อขอหนังสือรับรอง
การขอหนังสือรับรองจะต้องนำเอกสารไปยื่นคำขอกับพนักงานเจ้าหน้าที่ สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา และสำนักงานที่ดินอำเภอ ตามที่ดินนั้นตั้งอยู่ โดยเอกสารที่ต้องเตรียมก็ได้แก่
โฉนดที่ดิน, น.ส.3, น.ส.3ก, ฯลฯ หรือสำเนาเอกสารดังกล่าว (ในกรณีไม่สามารถนำเอกสารฉบับจริงมาได้)
บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ ของผู้ขอและผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรดังกล่าว ในกรณีมอบอำนาจจะต้องนำบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ พร้อมสำเนาบัตรดังกล่าวที่รับรองสำเนาแล้วของผู้มอบอำนาจมาด้วย
สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอ ในกรณีมอบอำนาจต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจมาด้วย
หลักฐานของนิติบุคคล หรือหนังสือมอบอำนาจ ในกรณีไม่สามารถไปด้วยตนเอง
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
โดยปกติขั้นตอนการขอหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดิน จะต้องมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการขอหนังสือรับรองก้จะมีดังนี้
ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท
ค่ารับรองฉบับละ 10 บาท
ค่าพยานคำขอเรื่องละ 20 บาท
ค่ามอบ (ถ้ามี) เรื่องละ 20 บาท
รู้ราคาประเมินที่ดินมีประโยชน์ต่อการลงทุนอสังหาริมทรัพย์อย่างไร

โดยปกติแล้วราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์จะถูกนำมาใช้ในการคำนวณค่าธรรมเนียมภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ในกรณีที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ รวมถึงการซื้อ-ขายที่ดินว่าต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไร ในการทำนิติกรรมอสังหาริมทรัพย์
นอกจากประโยชน์ที่เจ้าของที่ดินจะได้จากการรู้ราคาประเมินที่ดินของตัวเองแล้ว สำหรับผู้ที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ การรู้ราคาประเมินที่ดินยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย ดังนี้
นำข้อมูลมาวิเคราะห์ศักยภาพของทำเลและศักยภาพของโครงการในอนาคตเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน
ใช้คิดคำนวณค่าใช้จ่าย ภาษีเงินได้ ภาษีอากร และภาษีแสตมป์ก่อนวันโอนจริง ทำให้การคำนวณค่าใช้จ่ายสามารถทำได้ล่วงหน้าและแม่นยำมากขึ้น
สามารถนำราคาประเมินไปประกอบการกำหนดราคาซื้อขายได้
สามารถใช้เป็นข้อมูลในการเจรจาและต่อรองในการลงทุน
ราคาประเมินที่ดินคือราคาที่ถูกประเมินโดยกรมธนารักษ์ และใช้ในการคำนวณค่าธรรมเนียมภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ระหว่างการทำนิติกรรมอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ การรู้ราคาประเมินที่ดินจากกรมธนารักษ์ยังมีประโยชน์ต่อการลงทุนมากมาย ตัวอย่างเช่น ความสามารถในการประเมินค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ความแม่นยำในการกำหนดราคาขาย และอำนาจในการต่อรองเจรจาการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ด้วย
โดยธรรมชาติของราคาประเมินที่ดิน และราคาประเมินในออนไลน์จะมีความเป็นไปได้ที่ราคาจะต่ำกว่าราคาตลาดที่ขายทั่วไป ซึ่งราคาประเมินที่ดินนั้นมักจะเป็นเพียงการประเมินราคาที่ดินเปล่า ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง ทำให้อาจจะต้องนำราคานี้ไปคำนวณกับปัจจัยอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
เรียกได้ว่าสะดวกและง่ายดายมาก ๆ สำหรับใครที่อยากรู้ว่าราคาที่ดินแต่ละแห่งเท่าไร ก็สามารถเช็กราคาประเมินที่ดินออนไลน์ได้เองง่าย ๆ ไว้ประกอบการพิจารณาก่อนทำการซื้อ-ขายที่ดิน
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : ghbank.co.th, treasury.go.th, reic.or.th และ dol.go.th