
รถ EV (Electric Vehicle) คือ รถ EV จะใช้พลังงานไฟฟ้าที่เก็บอยู่ในแบตเตอรี่หรืออุปกรณ์ที่เก็บพลังงานรูปแบบอื่นที่สามารถชาร์จไฟได้ ซึ่งจะเปลี่ยนพลังงานแบตเตอรี่มาใช้ในการขับเคลื่อน รถยนต์ไฟฟ้ามีอัตราเร่งที่เรียบและรวดเร็ว ไม่เหมือนรถยนต์ทั่วไปที่ใช้การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงเพื่อการขับเคลื่อน รถ EV ไม่ต้องมีกลไกอะไรที่มากเหมือนรถที่ใช้น้ำมันทำให้เครื่องยนต์เงียบและไม่มีไอเสียจากการเผาผลาญพลังงาน หรือที่พวกเราเรียกมันว่า รถไฟฟ้า นั่นเอง
ทำความเข้าใจกับเรื่องที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับ EV Charger
โดยปกติเรามักคุ้นชินกับการขับรถไปเติมน้ำมันที่ปั้ม แต่เมื่อเรามีรถยนต์ไฟฟ้าไว้ในครอบครองหรือกำลังจะถอยรถไฟฟ้าสักคันมาไว้ใช้งาน จำเป็นต้องเตรียมที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไว้ที่บ้าน เนื่องจากการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าอาจจะกินเวลาหลายนาทีหรือนานหลายชั่วโมง เพื่อความสะดวกหลายคนอยากจะติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger) ที่บ้านไว้ชาร์จรถ EV ของตัวเอง ซึ่งอาจรู้สึกว่าการเตรียมบ้านเพื่อติดตั้งจุดชาร์จไฟเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากกว่า แต่เรื่องเหล่านี้เป็นการติดตั้งเพียงครั้งเดียวเพื่อการใช้งานระยะยาวและยั่งยืนกว่า
สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ทำหน้าที่เป็นตัวชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า โดยสามารถแบ่งการชาร์จออกเป็น 2 ประเภท คือ Normal Charge และ Quick Charge


➥ Normal Charge
เป็นการชาร์จด้วยไฟ AC (ไฟฟ้ากระแสสลับ) โดยจะต้องชาร์จผ่าน On Board Charger ที่อยู่ภายในตัวรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่ง On Board Charger จะทำหน้าที่ในการแปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC เพื่อเก็บสะสมใบแบตเตอร์รี่รถไฟฟ้า โดยขนาดของตัว On Board Charger จะขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของรถยนต์ ซึ่งขนาดของ On Board Charger จะมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จไฟของแบตเตอรี่รถยนต์
ยกตัวอย่างเช่น : รถยนต์ไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่รถยนต์ขนาด 24 KWh และมี On Board Charger ขนาด 3KW ระยะเวลาในการชาร์จจะอยู่ที่ 8 ชั่วโมง
➥ Quick Charge
จะเป็นการชาร์จโดยใช้ตู้ EV Charger (สถานีชาร์จรถไฟฟ้า) ที่แปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC แล้วจ่ายไฟ DC (ไฟฟ้ากระแสตรง) เข้าที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จจะน้อยกว่าแบบ Normal Charger หัวชาร์จ (SOCKET) ของตู้ EV Charger จะมีทั้งแบบที่เป็น AC และ แบบ DC ประเภทของหัวชาร์จจะขึ้นอยู่กับมาตรฐานของผู้ผลิตรถยนต์
ยกตัวอย่างเช่น : รถยนต์ไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่รถยนต์ขนาด 24kWh โดยใช้ตู้ EV Charger แบบ Quick Charge ที่มีกำลังชาร์จอยู่ที่ 50kW ระยะเวลาในการชาร์จจะอยู่ที่ไม่เกิน 1/2 ชั่วโมง
7 เรื่องควรรู้ก่อน ติดตั้งเทคโนโลยี EV Charger ไว้ที่บ้าน
ก่อนทำการติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไว้ที่บ้าน ควรทำการเช็คปริมาณการใช้ไฟในบ้านร่วมกับเครื่องชาร์จไฟก่อนว่า ระบบไฟฟ้าเดิมที่มีอยู่รองรับการใช้งานได้หรือไม่ โดยมีหลักสำคัญในการตรวจเช็ค คือ มิเตอร์ไฟฟ้า และระบบไฟฟ้าของบ้าน เราสามารถตรวจเช็คตามคำแนะนำในการติดตั้งเพื่อความปลอดภัย ดังนี้
เรื่องที่ 1 ตรวจเช็ค! ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านเพียงพอไหม


ตรวจเช็คขนาดมิเตอร์ไฟ ถ้ามิเตอร์ไฟฟ้ามีขนาดเล็กกว่า 30 แอมป์ (30/100) เช่น 5 แอมป์ หรือ 15 แอมป์ ควรแจ้งเปลี่ยนมิเตอร์ไฟให้มีขนาดตั้งแต่ 30 แอมป์ขึ้นไป หรือถ้าเป็นมิเตอร์ 3 เฟส ก็ควรใช้ขนาด 15/45 เพื่อให้มิเตอร์มีขนาดเพียงพอสำหรับรองรับปริมาณการใช้ไฟในบ้านที่มากขึ้น
โดยส่วนใหญ่มาตรฐานขนาดมิเตอร์ ที่ทางการไฟฟ้าแนะนำ คือ Single-Phase 30(100)A หรือ 3-Phase 15(45)A ขึ้นไปถึงจะเพียงพอต่อการใช้งาน ดูง่ายๆ บนมิเตอร์ไฟ ถ้ากำลังไฟแค่ 5/15A หรือ 15/45A เฟส 1 (1P) ควรแจ้งเปลี่ยนกับการไฟฟ้าไว้ก่อนเลย แต่เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพควรเลือกใช้ 30/100A เฟส 1 หรือ 15/45A เฟส 3 โดยอาจต้องเพิ่มขนาดสายเมนไฟฟ้าให้เหมาะสม และตรวจให้แน่ใจว่าตู้ควบคุมไฟติด Circuit Breaker เพิ่มได้ไหม หรือจำเป็นต้องแยกตู้ต่างหาก
เรื่องที่ 2 ตรวจเช็ค! อุปกรณ์ตัดไฟรั่ว และขนาดสายเมนของระบบ


ตรวจเช็คตู้ Main Circuit Breaker (MCB) ควรใช้ตู้ที่สามารถรองรับกระแสไฟได้สูงสุดไม่เกิน 100 แอมป์ และขนาดสายไฟเมน หลังจากเช็คมิเตอร์ไฟฟ้าแล้ว ก็ต่อด้วยการเช็คขนาดสายไฟเมน หรือขนาดสายไฟที่เชื่อมมายังตู้ควบคุม หากยังเป็นขนาด 16 มิลลิเมตร ก็ต้องเปลี่ยนมาใช้ขนาด 25 ตารางมิลลิเมตร (ตร.มม.) ซึ่งเป็นขนาดหน้าของสายหริอขนาดของสายทองแดงนั่นเอง รวมไปถึงเช็ค
เรื่องที่ 3 ตรวจเช็ค! ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัย


ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) โดยดูว่ามีช่องว่างสำหรับติดตั้ง Miniature Circuit Breaker หรือไม่ เพราะการติดตั้งที่ชาร์จรถ EV จะต้องแยกช่องจ่ายไฟออกไปต่างหาก และช่องว่างนั้นควรมีขนาดตามพิกัดที่สามารถรองรับกระแสไฟของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ด้วย ทั้งนี้ เวลาสร้างบ้านแล้วมีการติดตั้งตู้ประเภทนี้ควรมีช่องเหลือไว้ เช่น หากจำเป็นต้องใช้ 6 ช่อง ก็ควรเลือกตู้แบบ 10 ช่อง ให้มีเหลือไว้อีก 4 ช่อง เผื่อติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าภายหลัง ก็จะได้สามารถมาติดช่องเพิ่มได้
เครื่องตัดไฟรั่ว (RDC) เมื่อเกิดการใช้ไฟเกินพอดี เหตุไฟฟ้าลัดวงจร หรือเหตุการณ์ธรรมชาติอย่างฟ้าผ่า อาจนำมาซึ่งการเกิดไฟดูดแก่ผู้ใช้หรือเจ้าของบ้าน โดยเราจะรอดหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าบ้านเราติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ารั่ว หรือ RCD (Residual Current Devices) เอาไว้มั้ย โดยเครื่องป้องกันไฟฟ้ารั่วตามมาตรฐานต้องมีพิกัดขนาดกระแสไฟฟ้ารั่วไม่เกิน 30 mA ต้องตัดไฟได้ภายในระยะเวลาเพียง 0.04 วินาที เมื่อมีไฟรั่วขนาด 5 เท่าของพิกัด (150 mA) แต่ถ้าตัวชาร์จรถยนต์ที่จะติดตั้งมีระบบตัดไฟอยู่แล้ว อาจไม่จำเป็นต้องติดตั้ง RCD เพิ่ม
เรื่องที่ 4 ตรวจเช็ค! ตำแหน่งในบ้านก่อนการติดตั้ง
การตรวจเช็คตำแหน่งก่อนติดตั้ง การติดตั้งจุดชาร์จไม่ใช่ว่าตั้งตรงไหนก็ได้ที่สายไฟไปถึง เนื่องจากมีระยะเหมาะสมของอุปกรณ์อยู่แล้ว ผู้ใช้งานจพเป็นต้องเช็คระยะจากจุดติดตั้งเครื่องชาร์จ จนถึงจุดที่เสียบเข้าตัวรถที่จอด ไม่ควรห่างกันเกิน 5 เมตร เนื่องจากสายเครื่องชาร์จไฟฟ้าโดยทั่วไป อยู่ที่ 5-7 เมตร


เลือกจุดที่สามารถหลีกเลี่ยง การโดนละอองฝน หรือน้ำฝนสาดเข้ามาได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรฐานการกันน้ำของเครื่องชาร์จไฟฟ้าแต่ละยี่ห้อ
ห่างได้ แต่ไม่ควรเกิน 5 เมตร จากจุดติดตั้งเครื่องชาร์จไปถึงจุดจอดรถไม่ควรเกิน 5 เมตร เนื่องจากสายชาร์จ EV Charger ทั่วไปมีความยาวไม่เกิน 7 เมตรเท่านั้น ลองนึกถึงการเติมน้ำมันแบบที่เราคุ้นเคยก็ได้ ถ้าระยะไกลไป สายก็ไปไม่ถึงตัวรถ หรือหากต้องใช้การดึงบ่อยเข้าก็คงไม่ดีกับสายชาร์จแน่
เดินไฟอย่าไกลตู้ เลือกพิกัดติดตั้งจุดชาร์จที่สามารถเดินสายไฟไปได้ไม่ไกลจากตู้ควบคุมไฟฟ้า นอกจากช่างจะทำงานสะดวก ประหยัดเวลาแล้ว ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายไฟด้วย
โปรดชาร์จใต้หลังคา ตำแหน่งที่ติดตั้งควรอยู่ในที่ร่ม สามารถป้องกันแดด ป้องกันฝนได้ เพราะถึง EV Charger จะมีระบบกันน้ำในตัว แต่คงไม่เหมาะกับการตากแดดตากฝนทั้งวันทั้งคืน ยังไงก็ควรถนอมไว้ให้ดีเพื่อการใช้งานที่ยาวนานขึ้นด้วย
เรื่องที่ 5 ตรวจเช็ค! ตรวจสอบประเภทหัวปลั๊กรถยนต์
โดยตรวจสอบที่เสียบหัวปลั๊กของรถยนต์ของคุณ ว่าเป็นประเภทไหน เพื่อที่จะได้ติดตั้งเครื่องชาร์จให้ตรงกับรถของท่าน โดยมักจะแบ่งออกเป็น 3 Type ตามประเทศที่ผลิต


Type 1 สำหรับรถประเทศญี่ปุ่น และอเมริกา เช่น Nissan Leaf , Tesla
Type 2 สำหรับรถยุโรป เช่น Mercedes-BENZ , MG , BMW, VOLVO , PORSCHE , TESLA , JAGUAR, HYUNDAI
Type GB/T สำหรับประเทศรถจีน เช่น BYD และรถที่จำหน่ายในจีน หรือบางรุ่นก็สามารถใช้ได้ทั้งประเภทคือ Type1 และ Type2 เช่น LEXUS
ส่วนรถที่จำหน่ายในประเทศไทย โดยส่วนมากจะเป็น Type 2 เนื่องจากเป็นมาตรฐานตามที่หน่วยงานของรัฐได้แนะนำไว้ แต่อาจมียี่ห้ออื่นประปรายที่เป็นหัวประเภทอื่นๆ ดังนั้น จึงควรตรวจสอบประเภทหัวปลั๊กรถยนต์ก่อนเลือกเครื่องชาร์จไฟฟ้า เพื่อให้สามารถชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง
เรื่องที่ 6 ตรวจเช็ค! เครื่องชาร์จไฟฟ้าให้รถเร็วเท่าไหร่


ตรวจสอบขนาด On-Board Charger เลือกเครื่องชาร์จให้เหมาะกับความต้องการ On-Board Charger คือ ระบบควบคุมการดึงไฟฟ้า ที่ตัวรถจะสั่งการไปยังเครื่องชาร์จไฟฟ้า โดยทั่วไปขนาดมีตั้งแต่ 3.6kW ถึง 22kW ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของรถยนต์ ซึ่งจะมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จไฟของแบตเตอรี่รถยนต์ ยิ่งวัตต์สูงก็จะทำให้ชาร์จเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ท่านควรเลือกเครื่องชาร์จไฟฟ้า ให้เหมาะกับรุ่นรถ แล้วแจ้งทีมช่างเพื่อที่จะเตรียมขนาดสายไฟและอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับขนาดเครื่องชาร์จไฟฟ้า นั้นๆด้วย
เรื่องที่ 7 ตรวจเช็ค! อุปกรณ์ของเครื่องชาร์จไฟฟ้า ตามมาตราฐาน


1. ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า : สำรวจมิเตอร์ไฟฟ้าของตัวเอง โดยปกติขนาดมิเตอร์ของบ้านพักอาศัยทั่วไปจะใช้เป็น 15(45) 1 เฟส(1P) หมายถึงมิเตอร์ขนาด 15 แอมป์(A) และสามารถใช้ไฟได้มากถึง 45(A) สำหรับคนที่ต้องการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในบ้าน ทางการไฟฟ้าแนะนำให้เปลี่ยนขนาดมิเตอร์เป็น 30(100) ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ป้องกันการใช้ไฟฟ้าที่มากเกินไป **สำหรับคนที่คิดว่าต้องเปลี่ยนระบบไฟเป็น 3 เฟสรึเปล่า? คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับความเร็วที่ต้องการในการชาร์จนะคะ หากต้องการชาร์จในช่วง 3.7 – 7.4 kW/h ก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนระบบไฟเป็น 3 เฟสแต่อย่างใด
2. เปลี่ยนสายเมน และลูกเซอร์กิต (MCB) : สำหรับสาย Main ของเดิมใช้ขนาด 16 ตร.มม. ต้องปรับให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 25 ตร.มม. และเปลี่ยนลูกเซอร์กิต(MCB) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับตู้ MDB ที่แต่เดิมรองรับได้สูงสุด 45(A) เปลี่ยนเป็น 100(A) หรือพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ ขนาดมิเตอร์ ขนาดสายเมน และขนาดลูกเซอร์กิต (MCB) ต้องสอดคล้องกัน
3. ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) : ตรวจสอบภายในตู้ว่ามีช่องว่างสำรองเหลือให้ติดตั้ง Circuit Breaker อีก 1 ช่องรึเปล่า? เพราะการชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องมีส่วนตัว แยกใช้งานกับเครื่องไฟฟ้าอื่นๆ หรือถ้าหากภายในตู้หลักไม่มีช่องว่าง ยังไงเราก็ต้องเพิ่มตู้ควบคุมย่อยอีก 1 จุดนะคะ
4. เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) : เป็นเครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติที่จะตัดวงจรไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าออกมีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งอาจจะส่งผลให้ไฟฟ้าลัดวงจร และเกิดเพลิงไหม้ได้ในอนาคต กรณีที่สายชาร์จไฟฟ้ามีระบบตัดไฟภายในตัวอยู่แล้ว เราก็ไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม ทั้งนี้ทั้งนั้น EV Charger ที่ดีควรมีระบบตัดไฟอย่างน้อง RCD type A โดยมีระบบตรวจจับ DC leakage protection 6 mA (หรือการป้องกันกระแสไฟตรงรั่วไหลด้วยนะคะ)
5. เต้ารับ (EV Socket) : สำหรับการเสียบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นชนิด 3 รู (มีสายต่อหลักดิน) ต้องทนกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16(A) *แต่รูปทรงอาจจะปรับตามรูปแบบปลั๊กของรถยนต์แต่ละรุ่น* (ในกรณีชาร์จแบบ normal charge**)

โดยสรุปแล้ว การติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน มีขั้นตอนและข้อควรพิจารณาหลายประการ ศึกษาหาข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าและการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างถูกวิธี เพื่อความปลอดภัยของคุณและความสะดวกในการใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอีกด้วยสำหรับท่านใดที่มีรถยนต์ไฟฟ้าอยู่แล้ว หรือกำลังจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ และอยากจะมีเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไว้ใช้ที่บ้านเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเติมพลังงานแล้วละก็ ดังนั้น จึงควรทำการเช็คลิสต์ต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นให้ครบ
“ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สิน และความสะบายใจของทุกคน ”