
สำหรับใครที่กำลังมองหาคอนโดมิเนียมเป็นที่พักอาศัย คงมีข้อสงสัยมากมายว่าจะเริ่มต้นการดูคอนโดมิเนียมอย่างไร ซึ่งการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญ มาดู 6 เช็คลิสสำหรับให้คุณพิจารณาเมื่อไปดูคอนโดครั้งแรก
1. สำรวจพื้นที่ใกล้เคียง
ลองเดินดูรอบๆ คอนโดมิเนียมนั้นว่าคุณจะรู้สึกมีความสุขไหมถ้าต้องไปพักอาศัยอยู่ที่นั่นตลอดชีวิต รวมถึงพิจารณาดูว่ามีระบบการเดินทางประเภทใดอยู่ในย่านนั้นบ้าง มีร้านค้าใดบ้างที่อยู่ในบริเวณนั้น และควรเช็คดูว่ามีความปลอดภัยหรือไม่

1. เปลี่ยนขวดพลาสติกเป็นกระถางต้นไม้
ถ้าไม่รู้ว่าจะใช้ประโยชน์อะไรจากขวดแกลลอนพลาสติกเหลือใช้ แต่ก็ไม่อยากทิ้งให้เป็นภาระของโลก แนะนำให้รีไซเคิลด้วยการตัดขวดออกครึ่งหนึ่ง แล้วนำก้นขวดมาทำเป็นกระถางต้นไม้ที่ทั้งแข็งและทนทานแทนดีกว่า
2. กล่องกระดาษใส่ของแบบแม่เหล็ก
การรีโนเวทบ้านไม่ใช่ทางออกของการเพิ่มพื้นที่เก็บของเสมอไป เพราะยังมีอีกทางที่สามารถแก้ไขได้ เช่น นำกล่องซีเรียลมาตัดฝาเปิด-ปิดออก แล้วจัดการตกแต่งกล่องด้วยกระดาษห่อของขวัญและติดแม่เหล็กแผ่นเล็ก ๆ เอาไว้ที่ด้านหลัง เท่านี้เราก็จะได้กล่องเก็บของแสนเก๋จากกล่องซีเรียลมาใช้แบบไม่ต้องเสียเงินซื้อแล้ว
3. กระปุกโรยปุ๋ยจากขวดเปล่าในห้องครัว
รู้หรือไม่ว่ากระปุกหรือขวดที่มีฝาปิดที่อยู่ในครัวสามารถแปลงมาใช้งานใหม่ได้ ด้วยการเจาะรูบนฝาแล้วเทปุ๋ยต้นไม้ลงไปในขวด เพียงแค่เขย่าก็ทำให้คุณเทปุ๋ยลงกระถางได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องยกเททั้งถุงจนหกเลอะเทอะอีกต่อไป
4. เก็บอุปกรณ์เย็บผ้าในกล่องช็อกโกแลต
หากคุณชอบงานเย็บปักถักร้อยใช้พวกเข็มกับด้ายเป็นประจำ ให้เก็บกล่องใส่ช็อกโกแลตเอาไว้แล้วนำเข็มเย็บผ้า เข็มหมุด และด้ายสีต่าง ๆ มาวางตามหลุมในกล่อง เพียงเท่านี้อุปกรณ์เย็บผ้าของคุณก็เป็นระเบียบ หยิบใช้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลาหาแล้ว
5. ถักพรมเช็ดเท้าด้วยเสื้อยืดตัวเก่า
ถ้าช่วงวันหยุดไม่ได้ออกไปไหนและไม่มีอะไรทำ ถ้าอย่างนั้นมา DIY พรมเช็ดเท้าจากเสื้อยืดตัวเก่ากันเถอะ เพียงแค่นำเสื้อยืดมาตัดให้เป็นเส้นยาว ๆ แล้วถักให้เป็นเชือกเส้นหนา ๆ ก่อนจะขดเชือกทั้งหมดเข้าด้วยกันให้เป็นพรมตามขนาดความกว้างที่ต้องการ แล้วเย็บยึดพรมให้แน่นหนาอีกที
6. เทแป้งแพนเค้กใส่ขวดบีบเพื่อวัดขนาดให้เท่ากัน
การเทแป้งแพนเค้กลงกระทะให้มีขนาดเท่า ๆ กันจะไม่ใช่เรื่องยากอีกแล้ว แค่นำขวดพลาสติกบีบได้เหลือใช้มาทำความสะอาดแล้วเทแป้งลงในขวด ก็จะทำให้ง่ายต่อการวัดและวาดขนาดแพนเค้กที่ต้องการ
7. ถุงเท้าห่อหุ้มสิ่งของป้องกันการกระแทก
หากจำเป็นที่จะต้องย้ายสิ่งของที่แตกง่ายอย่างเร่งด่วน แล้วไม่สามารถหากระดาษหนังสือพิมพ์ แผ่นโฟม หรือแผ่นกันกระแทกมาห่อได้ในตอนนั้น ให้รีบไปหาถุงเท้าหนา ๆ ที่ไม่ใช้แล้วมาห่อสิ่งของเหล่านี้ไว้แทน ก็ไม่ต้องกลัวว่าของเหล่านั้นจะแตกหักอีกต่อไป
8. กระป๋องเก่านำมาเล่าใหม่ให้เป็นเทียนไข
อีกหนึ่งไอเดียที่ช่วยเพิ่มแสงสว่างให้บ้านดูมีสีสันนั้นก็คือ กระป๋องเทียน โดยการนำกระป๋องเปล่ามาล้างแล้วใส่ไส้เทียนลงไป จากนั้นค่อยนำเทียนที่ผ่านการหลอมมาแล้วค่อย ๆ เทลงในกระป๋อง รอให้เทียนแข็งตัวสักพักก็จุดใช้ได้เลย
9. รวมร่างกระถางแตกเป็นป้ายชื่อ
อย่าเพิ่งคิดว่ากระถางต้นไม้ที่แตกแล้วจะไม่สามารถใช้ประโยชน์อะไรได้อีก เพราะสามารถนำมาต่อติดใหม่ให้เป็นป้ายชื่อต้นไม้ได้ แล้วเขียนชื่อต้นไม้ลงไปก่อนปักไว้ตามกระถางต่าง ๆ หลังจากนี้ก็จะไม่สับสนชื่อต้นไม้แต่ละต้นอีกต่อไป หรือจะใช้เศษกระถางที่แตกแล้วชิ้นเดียวไปเลยก็ได้
10. DIY จานกระเบื้องแตกให้เป็นโมเสกชั้นดี
เชื่อหรือไม่ว่าจานชามกระเบื้องที่แตกไปแล้ว สามารถนำกลับมาตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ได้ด้วยนะ แค่นำเศษกระเบื้องแตก ๆ มาติดเรียงกันบนโต๊ะหรือเก้าอี้ให้สวยงาม จากนั้นใช้กระดาษทรายขัดมุมแหลมออกพร้อมลงน้ำยาเคลือบผิวให้เรียบร้อยพร้อมใช้
11. แกนกระดาษทิชชูคืออุปกรณ์ทำความสะอาดชั้นดี
ตามรางประตูบานเลื่อนหรือร่องเล็ก ๆ ที่ทำความสะอาดยาก สามารถแก้ปัญหานี้ด้วยการนำแกนกระดาษทิชชูมาต่อเข้ากับหัวดูดของเครื่องดูดฝุ่น แล้วบีบแกนกระดาษทิชชูให้เล็กลงพอที่จะสอดลงไปในร่องได้ จากนั้นก็เปิดเครื่องดูดฝุ่นออกมาให้เกลี้ยงไปเลย !
12. ถุงน่องดักจับสิ่งของที่หายไป
แม้สิ่งของชิ้นเล็กอย่างต่างหูจะหล่นหายไปก็หาเจอได้ง่าย ๆ เพียงแค่สวมถุงน่องครอบปากเครื่องดูดฝุ่นเอาไว้แล้วใช้หนังยางรัดให้แน่น จากนั้นเปิดเครื่องแล้วดูดเรื่อย ๆ สักพักเจ้าต่างหูจะถูกดูดขึ้นมาติดที่ถุงน่องโดยที่เราไม่ต้องใช้มือควานหาอย่างเคย ๆ
13. ครอบถุงพลาสติกคลุมถาดสีกันเลอะ
หากจะลงมือทาสีบ้านทั้งทีก็ควรระวังเรื่องสีเลอะเทอะให้ดี ด้วยการสวมถุงพลาสติกที่ได้จากร้านค้ามาคลุมถาดสีเอาไว้แล้วค่อย ๆ เทสีลงไป จะได้ไม่ต้องตามล้างตามขัดถาดสีจนเมื่อยแขนทีหลัง
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าของเก่าเก็บและของเหลือใช้ในบ้านบางอย่าง สามารถพลิกฟื้นคืนชีพกลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้งด้วยไอเดียที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ ซึ่งจะช่วยให้คุณมีของใช้เพิ่มขึ้นโดยที่ไม่ต้องเสียเงินให้สิ้นเปลืองอีกต่อไ