
เรื่องสำคัญของการออกแบบหรือตกแต่งบ้าน สำหรับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ กำลังวางแผนสร้างบ้านให้พ่อ-แม่ หรือหาบ้านสักหลังไว้อาศัยยาว ๆ ในช่วงวัยเกษียณ
การออกแบบบ้านสำหรับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ กำลังจะสร้างบ้านให้พ่อ-แม่ หรืออาศัยในช่วงบั้นปลายของชีวิต แม้จะเป็นบ้านของเราเองแต่ก็ต้องวางแผนอย่างรอบคอบ และคิดเผื่อสำหรับการใช้ชีวิตและความสะดวกสบายของเหล่าผู้สูงอายุในบ้านด้วย โดยเฉพาะ 10 เรื่องสำคัญต่อไปนี้ที่ถือว่าสำคัญที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษ ในการออกแบบบ้านที่มีผู้สูงอายุหรือวัยเกษียณ
1. บ้านต้องมีอุณหภูมิเหมาะสม
ด้วยร่างกายของผู้สูงวัยที่ไม่สามารถทนต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้ เราจึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงอุณหภูมิภายในบ้านเป็นหลัก ทั้งทิศทางช่องลม ดีไซน์ภายใน และการเลือกวัสดุที่มีคุณสมบัติช่วยปรับอุณหภูมิภายในบ้านให้เหมาะสม ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป แม้ว่าอากาศข้างนอกจะแปรปรวนขนาดไหนก็ตาม

1. หมั่นดูแลหิ้งพระให้สะอาดอยู่เสมอ
หลายจุดในบ้านเจ้าของบ้านให้ความสำคัญแต่บางครั้งหลงลืมตำแหน่งของหิ้งพระ ดังนั้นต้องหมั่นเช็ดทำความสะอาดองค์พระหรือรูปเทพ เพราะหากองค์พระหรือรูปเทพมีฝุ่นจับเชื่อว่าจะทำให้คนในบ้านเจ็บป่วย นอกจากนั้นควรหมั่นเปลี่ยนน้ำ ดอกไม้ในแจกันบูชาเพื่อให้ชีวิตของคนในบ้านสดชื่น แจ่มใสอยู่ตลอดเวลา
2. เลือกตำแหน่งที่สงบ
หิ้งพระควรตั้งอยู่ในพื้นที่ๆ สงบ ไร้เสียงรบกวน จอแจ เช่นบางบ้านประดับหิ้งพระไว้บริเวณประตูเข้า-ออก ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าคนในบ้านจะพบแต่ความวุ่นวาย

3. หิ้งพระไม่ควรติดตั้งผนังเดียวกับห้องน้ำหรือห้องครัว
รวมถึงไม่ควรหันหน้าหิ้งบูชาไปตรงกับประตูห้องน้ำหรือห้องครัว เพราะจะทำให้คนในบ้านเจ็บป่วย มีเรื่องขัดแย้งหรือเงินทองรั่วไหล

4. หิ้งพระบนหลังตู้ควรสูงกว่าศีรษะ
หากคุณพักอาศัยในคอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนท์หิ้งพระควรอยู่สูงกว่าศีรษะเพราะมันเกี่ยวพันกับความเจริญก้าวหน้า อาชีพการงาน
5. ห้องพระคือห้องพระ
ห้องพระก็คือห้องสำหรับตั้งบูชาพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพียงอย่างเดียว เราอย่าใช้ห้องพระไว้เก็บข้าวของชนิดอื่นๆ รวมทั้งห้องพระไม่ควรอยู่ติดกับห้องน้ำหรือมีประตูตรงกับห้องน้ำ

6. หิ้งพระต้องตั้งอยู่เหนือหัวเตียง
หากไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ควรตั้งหิ้งบูชาไว้ในห้องนอน เนื่องจากเราอาจมีกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อหน้าหิ้งพระเช่นการเปลี่ยนเสื้อผ้า หรือการร่วมหลับนอนของคู่สามี-ภรรยา อีกทั้งยังไม่ควรหันหน้าหิ้งพระไปยังทิศที่เตียงตั้งอยู่ด้วย
7. ห้องรับแขกไม่ใช่ที่ตั้งของหิ้งบูชา
อย่างที่บอกว่าหิ้งพระควรตั้งอยู่ในห้องที่ค่อนข้างมีบรรยากาศสงบ

8. บนหิ้งพระควรมีองค์พระหรือองค์เทพเป็นจำนวนเลขคี่
9. หลีกเลี่ยงการตั้งหิ้งบูชาไว้ใต้คาน
เพราะหมายถึงดวงชะตาของเจ้าของบ้านอาจถูกกดทับ และมักมีเรื่องให้ปวดหัวอยู่เสมอ

10. หิ้งพระควรตั้งอยู่ในมุมที่เป็นสัดส่วน
ไม่ใช่เมื่ออยู่นอกบ้านแล้วสามารถมองเห็นหิ้งพระในบ้านอย่างชัดเจน เช่นนั้นถือว่าไม่ดี
นอกจากนี้ยังมีทิศต้องห้ามไม่ให้เจ้าของบ้านตั้งหิ้งพระอีกด้วย มาดูกันว่าคุณเกิดปีไหนและห้ามไม่ให้ตั้งหิ้งพระตรงไหน
เจ้าของบ้านเกิดปีชวด ห้ามตั้งหิ้งพระบูชาหันหน้าไปทางทิศเหนือ เพราะจะส่งผลให้เจ้าบ้านเกิดอันตราย จนอาจถึงขั้นเสียชีวิต
เจ้าของบ้านเกิดปีฉลู ห้ามตั้งหิ้งพระบูชาหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จะส่งผลให้เจ้าบ้าน เกิดการเจ็บป่วยอย่างกะทันหัน
เจ้าของบ้านเกิดปีขาล ห้ามตั้งหิ้งพระบูชาหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จะส่งผลให้ผู้หญิงและสมาชิกในครอบครัวเกิดอันตราย
เจ้าของบ้านเกิดปีเถาะ ห้ามตั้งหิ้งพระบูชาไปทางทิศตะวันออก จะส่งผลให้เกิดความสูญเสียคนในบ้านจะเสียชีวิต
เจ้าของบ้านเกิดปีมะโรง ห้ามตั้งหิ้งพระบูชาหันหน้าไปทางทิศตะวันออก จะส่งผลให้คนในบ้านเกิดการเสียหายทั้งชายและหญิง
เจ้าของบ้านเกิดปีมะเส็ง ห้ามตั้งหิ้งพระบูชา หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพราะจะส่งผลให้คนในครอบครัวมีความยุ่งยากที่สุดจนหาความสงบสุขไม่ได้
เจ้าของบ้านเกิดปีมะเมีย ห้ามตั้งหิ้งพระบูชาหันหน้าไปทางทิศใต้ จะส่งผลให้เกิดเรื่องราวอัปมงคลขึ้นภายในบ้าน
เจ้าของบ้านเกิดปีมะแม ห้ามตั้งหิ้งพระบูชาหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพราะจะส่งผลให้ครอบครัว เกิดเรื่องร้ายแรงขึ้นอย่างไม่คาดฝัน
เจ้าของบ้านเกิดปีวอก ห้ามตั้งหิ้งพระบูชาหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพราะจะส่งผลให้เกิดเรื่องร้าย ๆ กับสมาชิกเพศชายในครอบครัว
เจ้าของบ้านเกิดปีระกา ห้ามตั้งหิ้งพระบูชาหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเพราะ จะทำให้ความทุกข์โศกมาเยือนครอบครัวจนต้องร้องให้อยู่เสมอ
เจ้าของบ้านเกิดปีจอ ห้ามตั้งหิ้งพระบูชาหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เพราะจะส่งผลร้ายให้สมาชิกในครอบครัวอย่างมาก ถึงขั้นเสียชีวิตได้
เจ้าของบ้านเกิดปีกุน ห้ามตั้งหิ้งพระบูชาหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเพราะจะส่งผลให้เกิดเรื่องร้าย ๆ ในครอบครัวอยู่ตลอด เสียเงินเสียทองขึ้นโรงขึ้นศาล
ได้หลักการจัดหิ้งพระแบบง่ายๆ กันไปแล้ว ก็ลองตรวจเช็คดูนะคะว่าเราวางถูกต้องแล้วหรือยัง