การไหว้เจ้าที่ทำอย่างไร ใช้ธูปกี่ดอก ควรทำเวลาไหน ต้องใช้ของไหว้เจ้าอะไรบ้าง

การไหว้เจ้าที่ อยากรู้ว่า ไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอก ของไหว้เจ้าที่มีอะไรบ้าง ไหว้เจ้าที่ควรไหว้เวลาไหน มาดูวิธีไหว้เจ้าที่เรานำมาฝากกันในวันนี้กันค่ะ
หลาย ๆ คนอาจยังสงสัยเรื่องไหว้เจ้าที่ การไหว้เจ้าที่ควรทำเวลาไหน ไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอก ของไหว้เจ้าที่มีอะไรบ้าง และถ้าไม่มีศาลพระภูมิ มีวิธีไหว้เจ้าที่กลางแจ้ง อย่างไร วันนี้ขอรวบรวมวิธีไหว้เจ้าที่และวิธีการตั้งศาลเจ้า พร้อมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งศาลพระภูมิมาฝากกันด้วยค่ะ

ศาลเจ้าที่และศาลพระภูมิ
หลายคนอาจเคยเข้าใจผิดว่า ศาลเจ้าที่และศาลพระภูมิเป็นศาลเดียวกันมาตลอด แต่จริง ๆ แล้วศาลทั้ง 2 ประเภทมีความแตกต่างกัน ดังนี้
1. ศาลเจ้าที่
การสร้างสถานที่และอันเชิญวิญญาณเจ้าที่เจ้าทาง ซึ่งเคยเป็นเจ้าของที่ดั้งเดิมที่มีความผูกพันกับพื้นที่นั้น ให้มาช่วยดูแลและปกปักษ์รักษาบ้านเรือน เจ้าที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- เจ้าที่แท้ : เจ้าของที่เดิมที่ไม่ยอมไปเกิดใหม่ ซึ่งจะคอยปกปักษ์รักษาที่ของตนเองอยู่อย่างนั้น
- เจ้าที่จร : คือวิญญาณเร่ร่อนที่อยู่โดยรอบบริเวณพื้นที่นั้น ๆ ดังนั้นก่อนการตั้งศาลเจ้าที่จึงจำเป็นต้องมีอาจารย์ตั้งศาลมาตรวจดูว่า มีวิญญาณเจ้าที่อยู่ในบริเวณนั้นหรือไม่ มิเช่นนั้นศาลเจ้าที่ตั้งไว้จะกลายเป็นศาลว่างเปล่า ไม่มีวิญญาณคอยดูแล
ลักษณะของศาลเจ้าที่มักจะเป็นเรือนที่มีฐานใหญ่กว่าศาลพระภูมิ อยู่ในระดับความสูงเพียงครึ่งหนึ่งของศาลพระภูมิ ภายในจะมีรูปปั้นตา-ยาย หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า ศาลตา-ยาย นั่นเอง
2. ศาลพระภูมิ
สถานที่สำหรับพระชัยมงคลหรือเทพที่คอยปกปักษ์รักษาบ้านเรือน ซึ่งเชื่อกันว่าการกราบไหว้บูชาพระชัยมงคลจะทำให้บ้านหลังนั้นอยู่เย็นเป็นสุข คลาดแคล้วจากอันตราย มีความเป็นสิริมงคล และสามารถขอพรให้เรื่องต่าง ๆ ดำเนินไปได้ด้วยดี

ตำแหน่งการตั้งศาลเจ้าที่และศาลพระภูมิ
1. ศาลเจ้าที่
ต้องตั้งให้ถูกตำแหน่ง มิเช่นนั้นอาจะเกิดผลไม่ดีตามมา หรือหากไม่มีพื้นที่ที่เหมาะในการตั้งศาลก็ไม่ควรตั้งก็ได้ ให้แก้ด้วยการไหว้เจ้าที่กลางแจ้ง ส่วนหลักการตั้งศาลเจ้าที่มีข้อกำหนดดังต่อไปนี้
- พื้นที่นั้นจะต้องสะอาด ไม่มีสิ่งกีดขวางด้านหน้าศาล
- ไม่ตั้งหลบมุมจนมองไม่เห็น
- ตั้งให้ตรงกับประตูทางเข้าบ้าน
- ห้ามหันหน้าหรือตั้งใกล้บริเวณห้องน้ำ
- ห้ามตั้งไว้ใต้บันได เพราะเป็นพื้นสัญจรทำให้ไม่สงบ
- ต้องไม่ตั้งให้อยู่ใต้คานบ้าน มิเช่นนั้นความศักดิ์ของเจ้าที่จะลดลง
2. ตำแหน่งที่ตั้งศาลพระภูมิ
การตั้งศาลพระภูมิควรตั้งระดับฐานชาญชาลาให้อยู่ในระดับสายตาหรือเหนือคิ้วของเจ้าของบ้านคนปัจจุบัน การหันหน้าศาลพระภูมิควรหันหน้าเข้าหาทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศอีสานเท่านั้น ก่อนตั้งศาลต้องศาลจะต้องเชิญอาจารย์ตั้งศาลมาดูพื้นที่และทิศทางให้เหมาะสม โดยมีหลักการตั้งศาลพระภูมิดังนี้
- ที่จะตั้งศาลจะต้องสะอาด ไม่รกร้าง
- ต้องไม่หันหน้าและอยู่ห่างจากห้องน้ำ
- ต้องตั้งอยู่บนพื้นดินเท่านั้น ห้ามตั้งบนตัวบ้าน
- ตั้งในที่ที่ไม่โดนเงาบ้านทับ
- ห้ามหันหน้าศาลให้ตรงกับประตูหน้าบ้าน
- ศาลต้องอยู่ห่างจากกำแพงบ้านและรั้วบ้านประมาณ 1 เมตร
- ยกฐานศาลให้สูงประมาณ 1 คืบก็จะดี

ขอบคุณข้อมูลจาก กระปุกดอทคอม