
โครงการบ้านประชารัฐ ธอส. ขอสินเชื่อจำนวนเท่านี้ จะต้องผ่อนส่งเดือนละเท่าไร มาดูตารางผ่อนจ่ายแบบเข้าใจง่าย ๆ
โครงการบ้านประชารัฐ นับเป็นนโยบายภาคอสังหาริมทรัพย์ล่าสุดที่รัฐบาลทำคลอดออกมา งานนี้ประโยชน์ตกอยู่กับผู้มีรายได้น้อยเต็ม ๆ เพราะสามารถกู้ซื้อบ้านในราคาไม่เกิน 1,500,000 บาทเป็นของตัวเองได้ อีกทั้งเงื่อนไขการขอสินเชื่อก็ผ่อนปรนสุด ๆ เพราะไม่กำหนดรายได้ขั้นต่ำของผู้กู้ และยังสามารถกู้เงินได้มากขึ้นในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง พร้อมของแจก ของแถมเพียบ จึงไม่แปลกใจที่จะมีประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจติดต่อสอบถามข้อมูลจากธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่เป็นผู้ปล่อยสินเชื่อในวงเงินรวม 40,000 ล้านบาท
เงื่อนไขการขอสินเชื่อโครงการบ้านประชารัฐ ของ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มาให้พิจารณากัน และยังสามารถคำนวณได้ด้วยว่า หากเราขอสินเชื่อจำนวนเท่านี้ จะต้องผ่อนจ่ายเดือนละเท่าไร
อัตราดอกเบี้ยโครงการบ้านประชารัฐจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนตามวงเงินกู้คือ

1. วงเงินกู้ต่ำกว่า 700,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยดังนี้
จากภาพนี้จะเห็นว่า ถ้าเราขอสินเชื่อ 700,000 บาท และขอผ่อนชำระ 30 ปี ปีที่ 1-3 จะผ่อนแค่เดือนละ 3,000 บาท พอปีที่ 4-6 จะผ่อนเดือนละ 4,100 บาท ขณะที่ปีที่ 7 เป็นต้นไป ผ่อนเดือนละ 4,500 บาท
มีอัตราดอกเบี้ยดังนี้
- ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0%
- ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 2%
- ปีที่ 4-6 ดอกเบี้ย 5%
- ปีที่ 7 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยลอยตัว
โดย ธอส. คิดอัตราดอกเบี้ย MRR–0.75% ต่อปี (ปัจจุบัน MRR 6.75%)
ทั้งนี้สามารถเลือกผ่อนได้สูงสุด 30 ปี ลองมาดูกันว่าหากเราขอสินเชื่อในวงเงิน 300,000-700,000 บาท เป็นเวลา 10-30 ปี จะต้องผ่อนจ่ายเดือนละเท่าไร

2. วงเงินกู้ 700,001-1,500,000 บาท
จากภาพนี้จะเห็นว่า เราขอสินเชื่อ 1,500,000 บาท และขอผ่อนชำระ 30 ปี ปีที่ 1-3 จะผ่อนแค่เดือนละ 7,200 บาท พอปีที่ 4-6 จะผ่อนเดือนละ 8,900 บาท ขณะที่ปีที่ 7 เป็นต้นไป ผ่อนเดือนละ 9,700 บาท
มีอัตราดอกเบี้ยดังนี้
- ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 3%
- ปีที่ 4-6 ดอกเบี้ย 5%
- ปีที่ 7 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดย ธอส. คิดอัตราดอกเบี้ย MRR–0.75% ต่อปี สำหรับลูกค้ารายย่อยทั่วไป และ MRR–1% ต่อปี สำหรับลูกค้าสวัสดิการ
ทั้งนี้สามารถเลือกผ่อนได้สูงสุด 30 ปี ลองมาดูกันว่าหากเราขอสินเชื่อในวงเงิน 750,000-1,500,000 บาท เป็นเวลา 10-30 ปี จะต้องผ่อนจ่ายเดือนละเท่าไร

บ้านประชารัฐ ธอส. มีที่ไหนบ้าง
สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทุกสาขา หรือตรวจสอบได้ที่ ทรัพย์สินรอขายธนาคารอาคารสงเคราะห์
บ้านประชารัฐ ธอส. ขอเอกสารอะไรบ้าง
เอกสารส่วนบุคคล
- บัตรประจำประชาชน/ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า/ใบมรณบัตร/ใบแจ้งความแยกกันอยู่
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี)
เอกสารทางการเงิน
- ใบรับรองเงินเดือน/หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการ
- สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
- สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน (กรณีอาชีพประจำ) และ 12 เดือน
(กรณีอาชีพอิสระ)/หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่น ๆ (พร้อมแสดงเอกสารฉบับจริง)
- สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วนฯ
- หลักฐานการเสียภาษีเงินได้
- รูปถ่ายกิจการ
- สำเนาใบประกอบวิชาชีพ
เอกสารหลักประกันเงินกู้
- สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย/สัญญาวางมัดจำ/สัญญาเช่าซื้อการเคหะ
- สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับกรมที่ดิน
- สำเนาโฉนดที่ดิน/น.ส.3ก./หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) ทุกหน้า
กรณีซื้อสินทรัพย์มือสองต้องรับรองสำเนาโดยเจ้าพนักงานที่ดิน
ทั้งนี้สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทุกสาขาทั่วประเทศ
หรือศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000
หรือ ghbank.co.th และ Facebook fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์
แนะนำโครงการ ลุมพินี พฤกษา และโครงการอื่นๆ ที่มีราคาไม่เกิน 1,500,000 บาท

4. ภาษี
ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยนั้นเป็นเงินที่นำมาคำนวณเพื่อลดหย่อนภาษีได้ด้วย กรณีที่คำนวณภาษีโดยรวมค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยเข้าไปแล้ว ทำให้คุณมีเงินได้สุทธิไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเลย คุณก็ยังไม่ควรปลดหนี้บ้านก่อนกำหนด เพราะคุณยังได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากดอกเบี้ยอยู่ แต่หากคำนวณภาษีโดยรวมค่าลดหย่อนดอกเบี้ยแล้ว คุณยังต้องเสียภาษาในจำนวนที่มากอยู่ การปลดหนี้บ้านถือว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ
ทั้งหมดนี้เป็นแนวทางอยากให้คำนึงคิดก่อนโปะหนี้ เมื่อหนี้บ้านหมด หลายๆคนก็เป็นหนี้ตัวนี้อยู่แทบจะยกภูเขาออกจากอกแต่คุณต้องคำนึงด้วยว่า เป็นการสร้างภาระอย่างอื่นเพิ่มหรือไม่หรืออาจจะไม่มีผลกระทบไรเลย ลองศึกษาข้อเสียหรือสิ่งที่คิดว่าอาจจะพลาดนี้ประกอบกันเพื่อผลประโยชน์ที่ดีที่สุด