สินเชื่อที่อยู่อาศัย

ไม่ว่าจะซื้อบ้าน คอนโด หรืออสังหาฯ อะไรก็ตาม การทำ "สัญญาซื้อขาย" ถือเป็นเรื่องสำคัญ สัญญาซื้อขายทรัพย์สิน คือ การที่ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ โดยที่ผู้ซื้อต้องชำระราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ขาย ในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะโอนไปยังผู้ซื้อได้ก็ต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดนั่นก็คือ ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กระบวนการนี้เป็นลักษณะของการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

สาระควรรู้ "สัญญาจะซื้อ-จะขาย" อสังหาริมทรัพย์

สาระควรรู้ สัญญาจะซื้อ-จะขาย อสังหาริมทรัพย์

ไม่ว่าจะซื้อบ้าน คอนโด หรืออสังหาฯ อะไรก็ตาม การทำ "สัญญาซื้อขาย" ถือเป็นเรื่องสำคัญ สัญญาซื้อขายทรัพย์สิน คือ การที่ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ โดยที่ผู้ซื้อต้องชำระราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ขาย ในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะโอนไปยังผู้ซื้อได้ก็ต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดนั่นก็คือ ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กระบวนการนี้เป็นลักษณะของการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด

แต่ในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นตามกฎหมายได้มีบัญญัติไว้อีกหนึ่งสัญญาที่น่าสนใจคือ สัญญาจะซื้อจะขาย

 

สัญญาจะซื้อจะขายคือ ?

สัญญาจะซื้อจะขาย หรือ คำมั่นในการซื้อขาย คือ สัญญาซื้อขายซึ่งคู่สัญญาตกลงทำกันไว้ในวันทำสัญญาโดยตกลงกันว่าจะไปทำการโอนกรรมสิทธิ์หรือทำการซื้อขายตามแบบของกฎหมายอีกครั้งในอนาคต การทำสัญญาจะซื้อจะขายจึงเป็นสัญญาที่ไม่มีผลให้กรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อ ข้อสำคัญคือ เจตนาในการทำสัญญา คู่สัญญาต้องมีเจตนาที่จะไปทำการโอนกรรมสิทธิ์กันในภายหน้า หากไม่มีเจตนาดังกล่าวนี้แล้วสัญญาที่ทำกันจะกลายเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และเมื่อเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่กฎหมายต้องการแบบที่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ การมีเพียงสัญญาเป็นหนังสือจึงทำให้สัญญาซื้อขายนี้เป็นโมฆะ ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อแม้ผู้ซื้อจะชำระราคาถูกต้องครบถ้วนแล้วก็ตาม

การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่ราคาสูงนั้น หลังจากเจอบ้านที่ถูกใจและตกลงราคา วันที่ต้องการโอนกรรมสิทธิ์กับผู้ขายแล้ว ผู้ซื้อบางคนต้องการที่จะไปทำเรื่องกับธนาคารก่อน ดังนี้ กฎหมายจึงได้บัญญัติสัญญาจะซื้อจะขายขึ้นมาเพื่อป้องกันสิทธิของผู้จะซื้อและผู้จะขาย

 

จุดประสงค์ของสัญญาจะซื้อจะขาย

สัญญาจะซื้อจะขายคือ การให้คำมั่นแก่กันว่าจะทำการซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กันในอนาคตเป็นการแน่นอน กฎหมายบัญญัติขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดแก่คู่สัญญาในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา เช่น เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้จะขายนำทรัพย์สินตามสัญญาไปขายให้แก่บุคคลอื่น เพื่อป้องกันผู้ซื้อไม่ชำระราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ขายและไม่ยอมรับโอน อันอาจทำให้ผู้ขายเสียโอกาสในการขายให้แก่ผู้อื่น เป็นต้น

สัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาที่กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบเอาไว้ เพียงแค่คู่สัญญาตกลงโดยถูกต้องตรงกันว่าจะไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ในภายหน้าก็มีผลเกิดเป็นสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว ซึ่งเจตนาดังกล่าวเป็นเจตนาสำคัญในการทำสัญญาจะซื้อจะขาย ทั้งนี้ ควรมีรายละเอียดในการซื้อขายภายในสัญญาด้วย

รายละเอียดในสัญญาจะซื้อจะขาย

1. คู่สัญญา
รายละเอียดของคู่สัญญาเป็นรายละเอียดของผู้ซื้อและผู้ขาย เช่น ชื่อ ที่อยู่ เลขบัตรประชาชน ซึ่งผู้ทำสัญญาอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ เป็นการบอกว่าใครเป็นผู้ซื้อและใครเป็นผู้ขาย

2. อสังหาริมทรัพย์ที่ตกลงซื้อขายกัน
รายละเอียดของทรัพย์สินที่ตกลงกันว่าจะซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์แก่กัน ในการบอกรายละเอียดของทรัพย์นั้นจำเป็นต้องบอกอย่างเฉพาะเจาะจงว่าเป็นทรัพย์ชิ้นใด เช่น เลขที่โฉนด เลขที่ดิน บ้านเลขที่ เนื้อที่กี่ตารางวา เป็นต้น

3. ราคาที่ตกลงกันและวิธีการชำระราคา
รายละเอียดของราคาทรัพย์ว่าจำนวนเท่าไร ควรบอกทั้งเป็นตัวเลขและตัวอักษรเพื่อความถูกต้องรวมถึงควรระบุไว้ด้วยว่าจะชำระราคากันโดยวิธีใด อย่างไร เช่น ชำระโดยแคชเชียร์เช็ค ครึ่งหนึ่งในวันทำสัญญา อีกครึ่งหนึ่งจะชำระในวันที่โอนกรรมสิทธิ์ ที่ที่ดิน เป็นต้น

4. กำหนดเวลาการไปโอน
ในสัญญาต้องมีการระบุว่าคู่สัญญาจะไปทำการโอนกรรมสิทธิ์กันในภายหน้า ดังนั้น จึงอาจกำหนดวันที่ที่แน่นอน หรือ กำหนดเป็นระยะเวลาก็ได้ เช่น ทั้งสองฝ่ายตกลงกันจะไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่ทำสัญญา เป็นต้น ทั้งนี้ ไม่มีกฎหมายระบุระยะเวลาที่ต้องไปทำการโอน แล้วแต่ตามที่คู่สัญญาจะตกลงกัน

5. ค่าธรรมเนียมการโอนและภาษี
การโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นจะมีค่าธรรมเนียมการโอนที่กฎหมายไม่ได้บังคับว่าใครเป็นผู้มีหน้าที่จ่าย คู่สัญญาสามารถตกลงกันได้ว่าฝ่ายใดจะจ่ายเท่าใด อาจจะแบ่งชำระกันคนละครึ่งก็ได้

6. เงื่อนไขและข้อตกลงอื่นๆ
คู่สัญญาอาจมีเงื่อนไขหรือข้อตกลงในการซื้อขายกันเพิ่มเติมก็ได้ เช่น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินกว่าที่ตกลงกัน อาจตกลงกันในเรื่องของดอกเบี้ยหรือค่าเสียหายเพิ่มเติมในสัญญาฉบับนี้ได้

7. ความรับผิดหากผิดสัญญา
ความรับผิดของฝ่ายที่ผิดสัญญา ข้อนี้อาจใส่เข้ามาในสัญญาหรือไม่ก็ได้เนื่องจากมีกฎหมายคุ้มครองอยู่แล้ว แต่หากเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการทำสัญญาจะใส่ความรับผิดของผู้ที่ผิดสัญญาก็ได้ เช่น หากผิดสัญญายินยอมให้อีกฝ่ายฟ้องร้องบังคับตามกฎหมาย เป็นต้น

8. ลงลายมือชื่อ
ในสัญญาจะซื้อจะขายต้องลงลายชื่อของคู่สัญญาเป็นสำคัญเพื่อเป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีกัน ซึ่งจำเป็นต้องมีลายมือชื่อของผู้ที่ต้องรับผิด รวมถึงมีลงลายมือชื่อพยานในการทำสัญญาอีกสองคน ทั้งนี้การลงลายมือชื่อนั้นต้องใช้มือในการเขียนเท่านั้น จะใช้ตราประทับหรือพิมพ์ไม่ได้

นอกจากรายละเอียดต่างๆที่ปรากฎในสัญญาแล้ว เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์เป็นทรัพย์ที่ต้องมีการจดทะเบียนในการทำนิติกรรมจึงทำให้มีเอกสารต่างๆเยอะแยะมากมาย การมีเอกสารแนบท้ายสัญญาเพื่อชี้เฉพาะในทรัพย์สินหรือรายละเอียดต่างๆในสัญญาก็จะทำให้สัญญานั้นสมบูรณ์มากขึ้น

เอกสารแนบท้ายสัญญา

โดยหลักแล้วจะเป็นรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการซื้อขายกัน เช่น

  • โฉนดที่ดิน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • แผนผังโครงการ
  • แบบบ้าน
  • รายการวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สร้างบ้าน
     

(ตัวอย่างหนังสือสัญญาจะซื้อ - จะขาย)

เมื่อทำสัญญาจะซื้อจะขายกันเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ทำตามสัญญา ถือว่าฝ่ายนั้นผิดสัญญา

ผลของการผิดสัญญาจะซื้อจะขาย

กรณีที่ผู้ซื้อผิดสัญญา อาจเกิดจากการที่ผู้ซื้อไม่ทำราคาให้ถูกต้องครบถ้วน ผู้ขายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำที่ผู้ซื้อได้ชำระไว้ หรือ ผู้ขายจะดำเนินการฟ้องร้องบังคับคดีให้ผู้ซื้อปฏิบัติตามสัญญาก็ได้

กรณีที่ผู้ขายผิดสัญญา อาจเกิดจากการที่ผู้ขายไม่ยอมไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อตามวันเวลาที่ตกลงกัน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญา ให้ผู้ขายคืนเงินมัดจำทั้งหมดให้แก่ผู้ซื้อรวมถึงชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้ซื้อ หรือ ผู้ซื้อจะดำเนินการฟ้องร้องบังคับคดีให้ผู้ขายปฏิบัติตามสัญญาก็ได้

การฟ้องร้องบังคับคดี

การฟ้องร้องบังคับคดีกันตามสัญญาจะซื้อจะขาย กฎหมายกำหนดให้ต้องมีหลักฐานในการฟ้องร้องอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

หลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้รับผิด
หลักฐานเป็นหนังสือเช่นว่านี้ก็คือสัญญาจะซื้อจะขายที่คู่สัญญาได้ทำต่อกันไว้ หรืออาจเป็นเอกสารอื่นที่คู่สัญญาใช้ในการสื่อสารโต้ตอบกันโดยมีเนื้อความถึงการจะซื้อจะขายในอสังหาริมทรัพย์และมีการแสดงเจตนาว่าจะทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กันในภายภาคหน้า อาจมาในรูปแบบของจดหมายก็ได้ ขอแค่มีเนื้อความว่าจะซื้อขายกัน จะโอนกรรมสิทธิ์กัน และมีการลงลายมือชื่อของผู้รับผิด ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีได้

วางประจำ หรือ เงินมัดจำ
ผู้ซื้อได้วางเงินมัดจำไว้เพื่อเป็นประกันว่าจะซื้ออสังหาริมทรัพย์จากผู้ขายในภายหน้า ต้องวางมัดจำ ในวันที่ทำสัญญาเท่านั้น หากวางเงินหลังจากวันที่ทำสัญญาจะไม่เรียกว่าเงินมัดจำ แต่อาจเป็นการชำระหนี้บางส่วนได้ กฎหมายไม่บังคับว่าต้องวางมัดจำเท่าใด ตามแต่ที่คู่สัญญาจะตกลงกัน เสื่อมีการวางเงินมัดจำแก่กันแล้ว หลักฐานการวางเงินก็สามารถใช้เป็นหลักฐานการฟ้องร้องบังคับคดีได้

การชำระหนี้บางส่วน
คือการที่ผู้ซื้อชำระราคาบางส่วนให้แก่ผู้ขาย อาจตกลงกันว่าจะชำระกันเป็นงวดๆ รวมถึงชำระราคาทั้งหมดก็ถือเป็นการชำระหนี้บางส่วน หลักฐานการชำระเงินนั้นสามารถนำมาเป็นหลักฐานการฟ้องร้องบังคับคดีได้

 

 

สัญญาจะซื้อจะขายถือเป็นสัญญาที่สำคัญในการทำนิติกรรมซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ศาลฎีกาได้ตัดสินให้สัญญาจะซื้อจะขายเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขายด้วย รายละเอียดที่ตกลงกันไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายจึงสามารถบังคับใช้ได้ในการทำสัญญาซื้อขายกันในวันโอนกรรมสิทธิ์ ดังนั้น การทำสัญญาจะซื้อจะขายนอกจากเป็นการทำเพื่อป้องกันอีกฝ่ายผิดสัญญาแล้ว ยังมีผลผูกพันคู่สัญญาไปจนตลอดจนกว่าจะทำการซื้อขายการเสร็จสิ้น


ขอบคุณข้อมูลจาก homeloan.klungbaan
  • พลิกชีวิต "สินเชื่อ GSB บ้านแลกเงิน" เปลี่ยนบ้านเป็นเงินก้อนฉุกเฉิน บ้านยังอยู่เหมือนเดิม
  • ข้อควรรู้ "กู้ร่วม" เพิ่มโอกาสให้มีบ้าน ทางเลือกที่ช่วยให้ได้วงเงินกู้สูงขึ้น
  • ธอส.จัด 5 สินเชื่อบ้าน 2568 ให้ผู้สูงอายุมีบ้าน พร้อมดอกเบี้ยพิเศษ ผ่อนเริ่มล้านละ 3,200 บาท
  • ธอส สินเชื่อบ้านอยู่เย็นเป็นสุข ปี 2568
  • เปิดประตูตามฝัน สู่บ้านหลังใหม่ ด้วยสินเชื่อเคหะธนาคารออมสิน ดอกเบี้ยคงที่ 2 ปี ผ่อนชำระเท่ากันทุกงวด
  • ธอส. จัดสินเชื่อบ้านอยู่สบาย by SCG HEIM ปี 2567
  • บ้านยังผ่อนอยู่ "รีไฟแนนซ์" ลดดอกเบี้ยได้เยอะแค่ไหน มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอย่างไรบ้าง
  • สินเชื่อบ้าน ธอส. - กยศ. ปี 2567 ตอบสนองทุกความฝัน เพื่อคนพิเศษอย่างคุณ
  • ธนาคาร ธอส. จัดสินเชื่อบ้านสร้างสมใจ ปี 2567 ผู้กู้ที่ซื้อที่ดินเปล่า พร้อมปลูกสร้างบ้านใหม่
  • สินเชื่อบ้าน ธอส. - กยศ. ปี 2567 ตอบสนองทุกความฝัน เพื่อคนพิเศษอย่างคุณ
  • ข้อควรรู้ "กู้ร่วม" เพิ่มโอกาสให้มีบ้าน ทางเลือกที่ช่วยให้ได้วงเงินกู้สูงขึ้น
  • ธอส สินเชื่อบ้านอยู่เย็นเป็นสุข ปี 2568
  • 3 เรื่องต้องรู้ ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน แนะสูตรคำนวณแบบประหยัดดอกเบี้ย หนีดอกเบี้ยสุดโหด
  • สินเชื่อ SME ต่อยอดธุรกิจ กู้เงินเปิดร้าน วงเงินกู้ 3 เท่า สูงสุด 20 ล้าน
  • เปิดประตูตามฝัน สู่บ้านหลังใหม่ ด้วยสินเชื่อเคหะธนาคารออมสิน ดอกเบี้ยคงที่ 2 ปี ผ่อนชำระเท่ากันทุกงวด
  • ธอส. จัดสินเชื่อบ้านอยู่สบาย by SCG HEIM ปี 2567
  • ธ.ออมสินทำสินเชื่อ ทุกข์ปัญหา บ้านช่วยได้ สินเชื่อ GSB บ้านแลกเงิน
  • ธอส.จัด 5 สินเชื่อบ้าน 2568 ให้ผู้สูงอายุมีบ้าน พร้อมดอกเบี้ยพิเศษ ผ่อนเริ่มล้านละ 3,200 บาท
  • สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ จากธนาคารกรุงไทย ตัวช่วยของคนอยากมีบ้าน
  • สาระควรรู้ สัญญาจะซื้อ-จะขาย อสังหาริมทรัพย์

    ไม่ว่าจะซื้อบ้าน คอนโด หรืออสังหาฯ อะไรก็ตาม การทำ "สัญญาซื้อขาย" ถือเป็นเรื่องสำคัญ สัญญาซื้อขายทรัพย์สิน คือ การที่ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ โดยที่ผู้ซื้อต้องชำระราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ขาย ในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะโอนไปยังผู้ซื้อได้ก็ต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดนั่นก็คือ ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กระบวนการนี้เป็นลักษณะของการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด

    @thaihometown Scroll